Page 86 -
P. 86
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 6.8 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
ผลผลิต ต้นทุนคงที่ ต้นทุน ต้นทุนรวม ราคาขาย ก�าไร
รายการ (กก./ไร่) (บาท/กก.) ผันแปร (บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.)
(บาท/กก.)
2542 - สุพรรณบุรี 1 440 7 96 103 111 8
2544 - สุพรรณบุรี 2 361 19 164 183 189 6
2544 - ราชบุรี 3 320 24 180 204 222 18
2545 - กาฬสินธุ์ 4 144 13 134 147 160 13
2551 – กาฬสินธุ์ 5 430 na na 105 157 52
2556 - นครปฐม 6 318 34 147 181 270 89
ที่มา: เยาวดี (2542) ศิโรตน์ (2547) สุนทร (2549) จันทิมา (2547) มัลลิกา (2551) ข้อมูลส�ารวจใน
6
2
5
3
4
1
โครงการศึกษานี้ (2556) เฉพาะปี 2556 เป็นราคาปี 2556 ที่มาจากการสอบถามเกษตรกร นอกจาก
นั้นเป็นราคา ณ ระดับราคา ปี 2554
ปัญหาที่เกษตรกรโดยทั่วไปพบในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามคือ การขาดแคลนพันธุ์กุ้งทั้งยังมี
ราคาสูงและมีปัญหาลูกกุ้งอ่อนแอไม่ทนโรคจึงมีอัตรารอดต�่า ราคาอาหารกุ้งก้ามกรามสูง และมี
การผูกขาดขายอาหารกุ้ง ผู้ซื้อลูกกุ้งต้องใช้อาหารและเลี้ยงกุ้งตามที่ผู้ขายก�าหนดมีปัญหาโรคกุ้ง
ซึ่งเกษตรกรยังมีความรู้จ�ากัดในการป้องกันแก้ไขโรคกุ้งที่เกิดขึ้น ในช่วงแล้งพื้นที่เลี้ยงบางแห่ง
ขาดแคลนน�้า มีปัญหาคุณภาพน�้า ตลอดจนน�้าท่วม ทั้งอุทกภัยที่เกิดขึ้นยังท�าให้พื้นที่เลี้ยงกุ้งเสีย
หาย การลงทุนเลี้ยงกุ้งก้ามกรามต้องใช้เงินลงทุนสูง ในด้านตลาดราคาแกว่งขี้นลงมาก เกษตรกร
มีช่องทางขายที่จ�ากัด และถูกกดราคารับซื้อ จากการสอบถามเกษตรกรที่จังหวัดนครปฐม
เกษตรกรเห็นว่าที่เป็นปัญหาค่อนข้างมากคือ พันธุ์กุ้งและอาหารกุ้ง (ตารางผนวกที่ 2) เกษตรกร
เสนอให้กรมประมงพัฒนาการเพาะฟักให้ได้พันธุ์กุ้งที่มีคุณภาพ และลดการพึ่งพาลูกกุ้งจากเอกชน
ลงให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรในด้านตลาดขายกุ้งก้ามกราม และจัดท�าเครือข่ายการเพาะพันธุ์
กุ้งก้ามกรามโดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ-เอกชน-เกษตรกร
เมื่อสอบถามถึงความสนับสนุนจากภาครัฐ เกษตรกรให้ความเห็นว่าที่ต้องการมากคือ
ในเรื่องของตลาดและราคา ที่ต้องการค่อนข้างน้อยคือความรู้ในการเลี้ยงกุ้ง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ
เกษตรกรพื้นที่เป็นเกษตรกรที่มีทักษะอยู่แล้ว ส่วนในเรื่องราคาอาหารกุ้งสูงเกษตรกรต้องการ
ความช่วยเหลือจากภาครัฐค่อนข้างน้อยเนื่องจากไม่คาดว่าภาครัฐจะสามารถแก้ปัญหาได้มากนัก
ที่ไม่ต้องการคือการจดทะเบียน อย่างไรก็ตามเกษตรกรกลุ่มนี้มีการจดทะเบียนด�าเนินการด้าน
มาตรฐานฟาร์มแล้ว แต่เห็นว่าไม่ได้ประโยชน์การท�ามาตรฐานฟาร์มเนื่องจากไม่ได้ส่งออกผลผลิต
ที่ได้ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ไม่ต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐในส่วนนี้ (ตารางผนวกที่ 3)
ในส่วนของผลกระทบจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกษตรกรทั้งหมด
เห็นว่าอาจมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมหากมีโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นในบริเวณใกล้พื้นที่เพาะเลี้ยง
เกือบทั้งหมดเห็นว่าอาจมีผู้ประกอบการจากประเทศไทยออกไปลงทุนในธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 77 I