Page 89 -
P. 89
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประมาณหนึ่งเท่า และที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงที่สุดคือกัมพูชาที่มีผลผลิตเกือบครึ่งหนึ่งของไทยมูลค่า
ต่อหน่วยของปลาสลิดเป็น 2.50 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ประเทศไทยมีช่องทางส่งออกปลาสลิด
ไปประเทศสมาชิกอาเซียน แม้มูลค่าต่อหน่วยซึ่งสะท้อนต้นทุนจะสูงกว่าอินโดนีเซียแต่ผลผลิต
ปลาสลิดจากประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค และควรส่งออกในลักษณะแปรรูปซึ่งได้
มูลค่าเพิ่ม ในช่วงปี 2550 - 2554 ประเทศไทยส่งออกปลาสลิดไปยังภูมิภาคอาเซียนประมาณ
ปีละกว่าสองร้อยตัน เกือบทั้งหมดส่งไปมาเลเซีย และมีที่ส่งไป สปป.ลาว เล็กน้อยการส่งออกไป
ทั้งสองประเทศมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตามเกษตรกรที่สมุทรปราการให้ข้อมูลว่ามีผู้ค้าจาก
ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้ามาติดต่อขอซื้อปลาสลิดไปจ�าหน่าย ส่วนการน�าเข้ามีการน�าเข้า
จากมาเลเซียเท่านั้นโดยน�าเข้ามากกว่าสามพันตันต่อปี ประเทศไทยจึงเป็นผู้น�าเข้าสุทธิในภูมิภาค
แม้ว่าจะมีผลผลิตมากที่สุด และเป็นการน�าเข้าจากมาเลเซียซึ่งไม่มีรายงานการเพาะเลี้ยง
ปลาสลิด น่าจะเป็นปลาสลิดที่มาเลเซียน�าเข้าจากอินโดนีเซียและกัมพูชาผ่านเข้ามาทางมาเลเซีย
อย่างไรก็ตามการน�าเข้าก็มีแนวโน้มลดลง การน�าเข้าสุทธิที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะผลผลิตใน
ประเทศไทยมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ
มีผู้ศึกษาต้นทุน - รายได้ของการเลี้ยงปลาสลิดไว้น้อยราย ในตารางที่ 6.10 จากการศึกษา
ในปี 2530 เกษตรกรขาดทุน แต่ในปี 2556 เกษตรกรสามารถมีก�าไร แม้ต้นทุนคงที่
จะเพิ่มขึ้นแต่ต้นทุนผันแปรลดลงซึ่งอาจเป็นเพราะมีการปรับรูปแบบการเลี้ยงจากที่เลี้ยง
ในนาข้าวมาเป็นการเลี้ยงในบ่อ และพัฒนาให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น ทั้งราคาที่ขายได้ก็สูงขึ้น
ตารางที่ 6.10 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาสลิด
ผลผลิต ต้นทุนคงที่ ต้นทุน ต้นทุนรวม ราคาขาย ก�าไร
รายการ (กก./ไร่) (บาท/กก.) ผันแปร (บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.)
(บาท/กก.)
2530 - สมุทรปราการ 1 122 7 37 44 40 -4
2556 - สมุทรปราการ 2 148 15 25 40 62 22
2
1
ที่มา: รุ้งตะวัน (2532) ข้อมูลส�ารวจในโครงการศึกษานี้ (2556) เฉพาะปี 2556 เป็นราคาปี 2556 ที่มา
จากการสอบถามเกษตรกร นอกจากนั้นเป็นราคา ณ ระดับราคา ปี 2554
ปัญหาในการเพาะเลี้ยงปลาสลิด ได้แก่ การขาดแคลนลูกพันธุ์ ส่วนหนึ่งยังต้องอาศัย
ลูกปลาที่ได้จากธรรมชาติ ตามมาด้วยปัญหาพื้นที่เพาะเลี้ยงดั้งเดิมที่สมุทรปราการ พัฒนาเป็น
20
พื้นที่อุตสาหกรรม เมื่อที่ดินมีราคาสูงเกษตรขายที่ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องเช่าจากเจ้าของ
ใหม่โดยท�าสัญญาเช่ารายปีขาดความแน่นอนการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยง ทั้งยังมีปัญหาน�้าเสียที่ทิ้งมา
จากแหล่งอุตสาหกรรม เกษตรกรที่เช่าที่เลี้ยงปลาก็ต้องจ่ายค่าเช่าสูง ทั้งค่าแรงงานก็สูงขึ้น
21
20 เกษตรกรให้ข้อมูลว่าปลาสลิดจากพื้นที่นี้มีคุณภาพดีต่างจากพื้นทีอื่นเนื่องจากมีพืชจ�าพวกหญ้าในน�้าที่
เป็นอาหารของปลา
21 เกษตรกรบางรายขายที่แล้วไปซื้อที่เพาะเลี้ยงใหม่ในจังหวัดอื่นเช่นที่ราชบุรี
80 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน