Page 87 -
P. 87
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในประเทศที่มีทรัพยากรน�้าดีกว่าประเทศไทยรวมทั้งในพื้นที่ชายทะเล เห็นว่ามีโอกาสที่ผู้ประกอบการ
ไทยจะไปลงทุนใน สปป.ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม อาจมีแรงงานไทยออกไปท�างานในประเทศ
สมาชิกอาเซียนอื่น แต่จะเป็นแรงงานที่มีทักษะ ทั้งยังเคยมีผู้เข้ามาติดต่อให้เกษตรกรในพื้นที่ไป
เลี้ยงสัตว์น�้าในต่างประเทศ หากได้รับค่าตอบแทนที่จูงใจอาจมีแรงงานไทยออกไปท�างานเพาะ
เลี้ยงสัตว์น�้าในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ มากกว่าครึ่งหนึ่งของเกษตรกรที่สอบถามเห็นว่า
อาจมีต่างชาติเข้ามาตั้งโรงงานแปรรูปสัตว์น�้าในประเทศไทยโดยร่วมทุนกับคนไทย อาจมีแรงงาน
ต่างชาติเข้ามาท�างานเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในประเทศไทยมากขึ้นเนื่องจากได้ค่าแรงสูง และการเข้ามา
ของต่างชาติอาจน�าไปสู่ปัญหาการครองชีพเนื่องจากค่าใช้จ่ายอาจสูงขึ้น การแย่งกันใช้ทรัพยากร
และ กรรมสิทธิ์ในที่เพาะเลี้ยง น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเกษตรกรเห็นว่าราคากุ้งก้ามกรามจะเพิ่มขึ้น
และน้อยกว่าครึ่งหนึ่งเช่นกันที่เห็นว่าราคาจะลดลง ทั้งนี้อาจเนื่องจากเกษตรกรไม่มีข้อมูลเกี่ยว
กับการเพาะเลี้ยงและการค้ากุ้งก้ามกรามของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ อาจมีต่างชาติเข้ามา
ลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในประเทศไทย เกษตรกรกังวลว่านักลงทุนต่างชาติอาจเข้ามาใช้
ประเทศไทยเป็นฐานการเพาะฟักแล้วส่งลูกกุ้งกลับไปเลี้ยงในประเทศของตน
อาจมีการยกระดับมาตรฐานสินค้ากุ้งก้ามกราม ซึ่งข้อนี้เกษตรกรเห็นว่ามาตรฐานที่เป็น
อยู่ก็ดีแล้วไม่ควรตั้งมาตรฐานให้สูงขึ้น และควรควบคุมคุณภาพสินค้าที่อาจมีการน�าเข้าให้ได้
มาตรฐานเดียวกัน มีเกษตรกรน้อยรายที่เห็นว่าการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะท�าให้
เกษตรกรมีทางเลือกปัจจัยการผลิตที่ดีขึ้น เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ท�าหน้าที่ค้าปัจจัย
การผลิตอยู่แล้วรายอื่นยากจะเข้ามาแข่งขัน และในเรื่องของอาชญากรรมเกษตรกรน้อยราย
ที่เห็นว่าจะเกิดปัญหานี้เนื่องจากรัฐให้การดูแลอยู่แล้ว (ตารางผนวกที่ 4)
6.5 การเพาะเลี้ยงปลาสลิด
ปลาสลิด (Trichogaster pecteralis) เป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทย มีแหล่งก�าเนิดอยู่
ในที่ลุ่มภาคกลาง ส่วนที่พบในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย
อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และฟิลิปปินส์ เป็นพันธุ์ปลาที่ส่งไปจากเมืองไทย เมื่อประมาณ
80 - 90 ปีที่ผ่านมา แหล่งเลี้ยงปลาสลิดที่ส�าคัญคือ อ�าเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการแต่ปัจจุบัน
พื้นที่นี้ประสบปัญหาน�้าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และทางภาคใต้มีการเลี้ยงในเขตจังหวัด
นราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเปรี้ยว กรมประมงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่จังหวัด
อื่น เช่น สมุทรสาคร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มีปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค และส่งเป็นสินค้าออกใน
รูปผลิตภัณฑ์ปลาสลิดเค็มตากแห้ง
การเลี้ยงปลาสลิดแต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ โดยอาศัยอาหารจากธรรมชาติใน
แปลงนา เพาะพันธุ์ อนุบาล และเลี้ยงปลาในบ่อเดียวกันโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ท�าให้มี
ผลผลิตไม่แน่นอน ปัจจุบันมีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาสลิดให้ได้ผลผลิตสูงแน่นอนมากขึ้น
พัฒนาการเลี้ยงมาเป็นแบบกึ่งพัฒนา มีการเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยง โดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการให้อาหารสมทบ ได้แก่ ร�าละเอียด ปลาป่น
78 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน