Page 85 -
P. 85

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




            ตารางที่ 6.7  เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของกุ้งก้ามกรามที่เพาะเลี้ยง
                       ในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554


                                         อินโดนีเซีย  เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  สหภาพพม่า  มาเลเซีย  กัมพูชา
                                 ไทย
                  รายการ

            ผลผลิต (พันตัน)   19.347   0.617   8.500   0.009   4.233   0.334   0.140
            มูลค่าต่อหน่วย      4.92    7.42    4.00   2.97    5.50    9.06   10.00
            (เหรียญสหรัฐ/กก.)

            ที่มา : ค�านวณจากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (2010)

                  กุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น�้าจืดที่ขายได้ราคาสูง ประเทศไทยมีผลผลิตมกกว่าประเทศสมาชิก
            อาเซียนอื่น น่าจะมีโอกาสส่งออกไปประเทศที่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่า ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
            และ กัมพูชา ส่วนสหภาพพม่าแม้จะมีมูลค่าต่อหน่วยสูงกว่าไทยแต่ก็มีผลผลิตที่ท�าประมงได้จาก
            แหล่งน�้าธรรมชาติอยู่มาก ปัญหาในการส่งออกกุ้งก้ามกรามของไทยคือหากส่งออกในลักษณะ

            ไม่ติดหัวกุ้งก็จะมีการสูญเสียน�้าหนักมาก กุ้งก้ามกรามที่ไทยเลี้ยงได้มีขนาดเป็นรองกุ้งก้ามกราม
            ของสหภาพพม่าและกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยงได้ในประเทศไทยมีขนาดเล็กลง เฉพาะในภูมิภาคอาเซียน
            ไทยเป็นผู้ส่งออกสุทธิ ส่งออกประมาณปีละสามร้อยตัน ประเทศปลายทางที่ส�าคัญคือเวียดนาม
            กุ้งก้ามกรามที่ส่งออกจากไทยส่งไปเวียดนามเกือบทั้งหมด และมีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจาก
            เวียดนามยังมีการส่งออกไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และสหภาพพม่า แต่มีปริมาณส่งออก
            ไปแต่ละประเทศไม่ถึงสิบตันโดยเฉพาะที่ส่งไปสหภาพพม่ามีน้อยมากมีเพียงประมาณห้าสิบ
            กิโลกรัมต่อปี และมีเฉพาะที่ส่งออกไปอินโดนีเซียเท่านั้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนการน�าเข้า
            ประเทศไทยน�าเข้าจากสหภาพพม่าเพียงประเทศเดียว คาดว่ากุ้งก้ามกรามที่น�าเข้าจากสหภาพ

            พม่าจะเป็นที่ได้จากแหล่งน�้าธรรมชาติมากกว่าที่จะมาจากการเพาะเลี้ยง ปริมาณน�าเข้าน้อยกว่า
            สามสิบตันต่อปีโดยเฉลี่ยและมีแนวโน้มลดลง
                  ตลาดในอาเซียนที่ประเทศไทยมีโอกาสในการค้ากุ้งก้ามกรามคือ เวียดนาม แต่คู่แข่ง
            ทางการค้ากุ้งก้ามกรามของไทยก็น่าจะเป็นเวียดนามเช่นกันแม้ผลผลิตของเวียดนามจะยังเป็น
            รองอยู่มาก
                  จากตารางที่ 6.8 ผลผลิตต่อไร่จากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอยู่ในช่วงสามร้อยถึงสี่ร้อยกิโลกรัม
            ต่อไร่ มียกเว้นการเลี้ยงที่กาฬสินธุ์ในปี 2545 ที่มีผลผลิตเพียง 144 กก./ไร่ แต่ในปี 2551
            ก็เพิ่มขึ้นเป็น 430 กก./ไร่ ต้นทุนการเพาะเลี้ยงเป็น 103 - 204 บาท/กก. ต่างกันตามพื้นที่

            เพาะเลี้ยง ต้นทุนที่ส�าคัญคือ ค่าอาหาร ซึ่งเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของต้นทุนรวม อันดับที่สอง คือ ค่าแรงงาน
            เป็นประมาณหนึ่งในห้าของต้นทุนรวม ราคาขายมีการแกว่งขึ้นลงในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณ
            ผลผลิตที่ได้ โดยรวมราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเกษตรกรยังสามารถท�าก�าไรสูงขึ้น เกษตรกร
            ผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในพื้นที่ศึกษาจังหวัดนครปฐมสามารถขายกุ้งได้ราคาสูงเนื่องจากการคัดขนาดกุ้ง
            ในการจับกุ้งขาย ทยอยจับโดยคัดขนาดที่ขายได้ราคาดี


            76    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90