Page 80 -
P. 80

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




              6.3  การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียน

                   ปลาตะเพียน (Puntius goninotus) เป็นปลาที่มีถิ่นก�าเนิดดั้งเดิมอยู่แถบแหลมอินโดจีน
              รวมทั้งอินโดนีเซียแถบชวาและสุมาตรา อินเดีย และปากีสถาน ส�าหรับประเทศไทยมีพบทั่วไป
              ในแหล่งน�้าจืดทุกภาคของประเทศ การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนมีมาก่อนปี พ.ศ. 2503 โดยเริ่มที่
              สถานีประมงจังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาการเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้รับการพัฒนาทั้งวิธีเลียน
              แบบธรรมชาติและผสมเทียม ซึ่งสามารถขยายพันธุ์และมีจ�าหน่ายทั่วไปในปัจจุบัน (ปกรณ์ 2541)

              การเลี้ยงปลาตะเพียนส่วนใหญ่จะเลี้ยงในบ่อดินผสมผสานกับปลากินพืชอื่นๆ เช่น ปลานวลจันทร์
              น�้าจืด ปลายี่สก ปลาไน ปลาดุก ปลานิล เลี้ยงปลาควบคู่ไปกับการท�านา ท�าไร่อ้อย และมันส�าปะหลัง
                                                                                 13
              เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาตะเพียน ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงปลาเพื่อเสริมอาชีพหลัก
                   แม้ว่าจะมีการพัฒนาการเพาะพันธุ์มายาวนานและหาพันธุ์ปลาได้ง่าย แต่จ�านวนฟาร์ม

              เลี้ยงปลาตะเพียนเพิ่มขึ้นน้อยมาก ทั้งผลผลิตยังมีแนวโน้มลดลง สัตว์น�้าชนิดนี้มักจะเลี้ยงกันใน
              หมู่เกษตรกรรายย่อยโดยเลี้ยงร่วมกับปลากินพืชชนิดอื่นๆ เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารบริโภคชุมชนแหล่ง
              เพาะเลี้ยงมากกว่าที่จะส่งขายออกนอกท้องที่ อย่างไรก็ตามหากมีผลผลิตมากพอยังมีช่องทาง
              การแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้
                   ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนมีประมาณร้อยละสามของผลผลิตจากการเพาะ

              เลี้ยงสัตว์น�้าในประเทศไทย จัดอยู่ในอันดับที่หกรองจาก กุ้งขาว ปลานิล ปลาดุก หอยแมลงภู่และ
              หอยแครง มีพื้นที่เพาะเลี้ยงมากกว่าที่ใช้เลี้ยงปลาดุกแต่ยังไม่ถึงสองแสนไร่ ทั้งจ�านวนผู้เลี้ยงก็มี
              มากกว่าหนึ่งแสนรายมากกว่าจ�านวนผู้เลี้ยงปลาดุก แต่ยังมีจ�านวนผลผลิตน้อยกว่าปลาดุก
                                                                                  14
                   จากรายงานสถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติแสดงข้อมูลผลผลิต

              ปลาตะเพียนที่เพาะเลี้ยงในประเทศไทยเป็น Silver barb มีรายงานการเลี้ยงปลาตะเพียนชนิดนี้
              ในหกประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผลผลิตปลาตะเพียนจากการเพาะเลี้ยง
              มากที่สุด 34.117 พันตัน อันดับที่สองคือ สหภาพพม่า 22.746 พันตัน ตามมาด้วยกัมพูชา 12.600
              พันตัน และเวียดนาม 11.974 พันตันใกล้เคียงกับกัมพูชา อีกสองประเทศมีผลผลิตจากการเลี้ยง
              ปลาตะเพียนในหลักพัน คือ สปป.ลาว 6.800 พันตัน และ มาเลเซีย 1.560 พันตัน ประเทศที่มี
              โอกาสจะแข่งขันกับไทยส�าหรับการเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนน่าจะมีเพียงสหภาพพม่าและที่อาจ

              เพิ่มผลผลิตขึ้นมาใกล้กันบ้างคือกัมพูชาและเวียดนาม (ตารางที่ 6.5)
                   ปลาตะเพียนเป็นปลาที่นิยมบริโภคในประเทศสมาชิกอาเซียนตอนบน ประเทศไทยน่าจะ


                13   ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาตะเพียนจังหวัดชัยภูมิ  มกราคม 2556
                14  กรมประมงรายงานจ�านวนผู้เลี้ยงปลาตะเพียน 142,134 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยง 175,030 ไร่ ผลผลิต
                  42.049 พันตัน ในปี 2553 ในขณะที่จ�านวนผู้เลี้ยงปลาดุกมี  96,473 ราย พื้นที่ 111,868 ไร่ ผลผลิต
                  140.763 พันตัน







                          สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 71 I
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85