Page 77 -
P. 77
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อย่างไรก็ตามปลาดุกที่เลี้ยงในประเทศไทยปัจจุบันส่วนมากเป็นปลาดุกลูกผสมที่เรียก
บิ๊กอุย ซึ่งที่สิงคโปร์ปลาดุกที่เลี้ยงเป็น Philippines catfish ปลาดุกที่เลี้ยงในประเทศสมาชิก
อาเซียนอื่นๆ แสดงไว้เป็น Torpedo-shaped catfishes nei ซึ่งคาดว่าเป็นปลาดุกพันธุ์ พื้นเมือง
พวกเดียวกับปลาดุกอุยและปลาดุกด้านของไทย อย่างไรก็ตามประเทศเพื่อนบ้านสามารถน�าพันธุ์
ปลาดุกบิ๊กอุยจากประเทศไทยไปเลี้ยงได้ดังเช่นที่น�าเข้าลูกพันธุ์ปลาอื่นๆ มาแล้ว
อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีผลผลิตปลาดุกจากการเพาะเลี้ยงมากที่สุดในอาเซียนมีมูลค่า
ต่อหน่วยของปลาดุกจากการเพาะเลี้ยงต�่าที่สุด 1.31 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม มาเลเซียมีมูลค่า
ต่อหน่วยของปลาดุกสูงขึ้นมาเป็น 1.33 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ต�่ากว่าไทย ซึ่งมีมูลค่าต่อหน่วย
ของปลาดุกเป็น 1.46 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ปลาดุกที่เลี้ยงในมาเลเซียเคยส่งเข้ามาขายตีตลาด
ปลาดุกในประเทศไทยด้วยราคาที่ถูกกว่า เวียดนามมีผลผลิตปลาดุกเป็นรองมาเลเซียและมูลค่า
ต่อหน่วยสูงกว่ามาเลเซีย คือ เป็น 1.50 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม เท่ากับในกัมพูชา ซึ่งระดับนี้อาจ
เป็นราคาประเมินของปลาน�้าจืดในประเทศแถบอินโดจีน ที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงขึ้นไปตามล�าดับ
ได้แก่ สหภาพพม่า 1.90 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ฟิลิปปินส์ 2.11 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม และ
สิงคโปร์ 2.43 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ประเทศไทยอาจมีช่องทางส่งออกปลาดุกไปประเทศ
ทั้งสามนี้ซึ่งยังมีผลผลิตน้อยและคาดว่าต้นทุนการผลิตสูงกว่าไทย
ตารางที่ 6.3 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยของปลาดุกที่ได้จากการเพาะเลี้ยง
ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สหภาพพม่า มาเลเซีย กัมพูชา สิงคโปร์
ไทย
รายการ
ผลผลิต (พันตัน) 95.375 337.577 20.000 3.129 7.582 46.778 1.950 0.022
มูลค่าต่อหน่วย
(เหรียญสหรัฐ/กก.) 1.46 1.31 1.50 2.11 1.90 1.33 1.50 2.43
ที่มา : ค�านวณจากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (2010)
ประเทศไทยส่งออกปลาดุกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนไม่ถึงร้อยละหนึ่งของที่เพาะเลี้ยงได้
ปริมาณส่งออกเฉลี่ยปีละประมาณสี่ร้อยตัน โดยมีสิงคโปร์เป็นตลาดหลักตามมาด้วยมาเลเซีย
การส่งออกไปยังสองประเทศนี้ยังเพิ่มขึ้น รองลงไปเป็นการส่งออกไปเวียดนามและอินโดนีเซียซึ่ง
มีแนวโน้มลดลง และมีที่ส่งออก สปป.ลาวและฟิลิปปินส์บ้างไม่มากนัก การส่งออกไป สปป.ลาว
ยังมีปริมาณเพิ่มขึ้นแต่ไม่สม�่าเสมอ บางปีไม่มีการส่งออก ไปประเทศนี้ ส่วนที่ส่งออกไปฟิลิปปินส์
มีน้อยมากและลดลง ส�าหรับการปลาดุกน�าเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนมีปริมาณมากกว่า
การส่งออก เฉลี่ยน�าเข้าปีละกว่าเจ็ดร้อยตัน โดยส่วนใหญ่น�าเข้าจากมาเลเซียซึ่งมีปัญหาท�าให้
ราคาปลาในประเทศลดลง รองลงไปเป็นการน�าเข้าจากเวียดนาม ซึ่งผู้รวบรวมปลาดุกเพื่อส่งออก
68 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน