Page 73 -
P. 73
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สหภาพพม่ามีมูลค่าต่อหน่วยของปลานิลต�่าที่สุด คือ 0.80 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม
แม้จะยังมีผลผลิตไม่มากนักแต่สหภาพพม่ามีโอกาสขยายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิดนี้ต่อไป
ปัญหาอยู่ที่การลงทุนและการหาตลาด เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์น�้าจืดส่วนใหญ่ในสหภาพพม่ายัง
ท�าโดยเกษตรกรรายย่อยซึ่งให้ความส�าคัญแก่การเพาะเลี้ยงปลาพื้นเมืองที่หาลูกพันธุ์ได้ง่าย
นอกจากนี้ผู้บริโภคในประเทศก็ยังนิยมบริโภคสัตว์น�้าที่เลี้ยงกันมานานและเป็นปลาพื้นบ้าน เช่น
ปลายี่สกเทศ เกษตรกรในสหภาพพม่ามีปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการขยายการส่งออกปลานิลคล้าย
กับที่พบในเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย คือ การเลี้ยงปลานิลเพื่อขายส�าหรับ
การบริโภคในประเทศที่ไม่ต้องการปลาขนาดใหญ่จะใช้เวลาเลี้ยงสั้นกว่าท�าให้เกษตรกรสามารถ
มีรายได้ดีกว่าการเลี้ยงปลานิลให้มีขนาดใหญ่ที่เหมาะแก่การแล่เนื้อแช่แข็ง เพื่อส่งออกที่ต้องเลี้ยง
นานกว่าผลตอบแทนที่เกษตรกรได้อาจไม่ดีเท่าการเลี้ยงเพื่อขายสดทั้งตัวส�าหรับบริโภคในประเทศ
เป็นอุปสรรคในการพัฒนาการส่งออก ข้อนี้เป็นปัญหาในทุกประเทศที่ต้องการพัฒนาการส่งออก
ปลานิล
มูลค่าต่อหน่วยของปลานิลที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยเป็น 1.41 เหรียญสหรัฐ
ต่อกิโลกรัม สูงกว่ามูลค่าต่อหน่วยของสหภาพพม่าค่อนข้างมาก แต่ยังเป็นรองมูลค่าต่อหน่วยของ
เวียดนามซึ่งเป็น 1.50 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมเท่ากันกับมูลค่าต่อหน่วยใน สปป.ลาว และกัมพูชา
ซึ่งมูลค่าต่อหน่วยระดับนี้อาจเป็นมูลค่าจากการประเมินในการรวบรวมข้อมูล
มูลค่าต่อหน่วยของปลานิลในเวียดนามสูงกว่าของสหภาพพม่าและไทย แต่ผลผลิตยัง
เป็นรอง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และไทย คาดว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์น�้าชนิดอื่นโดยเฉพาะ
ปลาสวายเวียดนามยังให้ความสนใจในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิลไม่มากนักแต่มีโอกาส
ที่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสวายบางรายในเวียดนามจะสนใจเลี้ยงปลานิลมากขึ้น หากเวียดนาม
หันมาพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล เวียดนามมีโอกาสที่จะขยายปริมาณการผลิต และการส่งออก
ได้รวดเร็วโดยอาศัยแนวทางที่ประสบความส�าเร็จจากการเพาะเลี้ยงปลาสวายมาแล้ว
ประเทศที่มีมูลค่าต่อหน่วยของปลานิลสูงขึ้นถัดไปคือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย
เป็น 1.69, 1.72 และ 1.77 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมตามล�าดับ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็น
ประเทศที่มีผลผลิตปลานิลมากที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนแต่มีต้นทุนการเพาะเลี้ยงค่อน
ข้างสูง ซึ่งส�าหรับฟิลิปปินส์อาจเป็นเพราะการพัฒนาการเพาะเลี้ยง ที่มุ่งขยายการส่งออก ผลผลิต
ต้องมีคุณภาพได้มาตรฐานเพื่อการส่งออก ท�าให้มูลค่าต่อหน่วยของปลานิลจากการเพาะเลี้ยงสูง
ขึ้น อินโดนีเซียยังส่งออกปลานิลไม่มากแต่มีต้นทุนการเพาะเลี้ยงยังค่อนข้างสูง คาดว่าการ
พัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิลในสองประเทศนี้อาจใกล้เต็มศักยภาพคงขยายผลผลิตไม่ได้มาก
ส่วนมาเลเซียมีมูลค่าต่อหน่วยของปลานิลสูงกว่าไทยแต่ที่มาเลเซียส่วนหนึ่งจะเป็นการเพาะเลี้ยง
ปลานิลแดงหรือปลาทับทิม เนื่องจากผู้บริโภคในมาเลเซียไม่นิยมปลานิลที่มีสีค่อนข้างด�า อย่างไร
ก็ตามผู้ประกอบการจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ให้ความเห็นว่าการส่งออกปลาทับทิมท�าได้ยาก
เนื่องจากผิวปลาบอบช�้าง่ายท�าให้เมื่อแช่แข็งทั้งตัวมีลักษณะไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นปลาที่
เหมาะแก่การขยายการเพาะเลี้ยงในประเทศโดยการบริหารจัดการเลี้ยงปลาทับทิมจะต้องคาดคะเน
ความต้องการของตลาดในประเทศและควบคุมปริมาณการผลิตไม่ให้มีอุปทานสูงเกินไป
64 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน