Page 70 -
P. 70
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปัญหาการเพาะเลี้ยงหอยนางรมอยู่ที่พันธุ์หอยซึ่งต้องพึ่งธรรมชาติและมีไม่มากพอ
ทั้งต้นทุนค่าอุปกรณ์ที่ใช้เป็นวัสดุล่อลูกหอยก็สูงขึ้น พื้นที่เลี้ยงหอยมีปัญหาซึ่งท�าให้เกิดสิ่งปนเปื้อน
ทั้งแบคทีเรีย จุลินทรีย์และโลหะหนัก ปัญหาคุณภาพน�้าในแหล่งเลี้ยงหอยคลื่นลมและมรสุม
น�้าตื้นเขิน มีตะกอนในแหล่งเลี้ยงโดยเฉพาะที่ใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงหอยมานาน การเลี้ยงหอยนางรม
ต้องใช้เวลานานเช่นหอยตะโกรมใช้เวลาถึง 18 เดือน ผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับจัดว่าไม่สูง
ผู้รับซื้อมีน้อยและมีปัญหาการผูกขาดเกษตรกรขาดอ�านาจต่อรอง การเก็บหอยนางรมขายต้อง
ขึ้นอยู่กับการก�าหนดเวลารับสินค้าของผู้ซื้อ นอกจากนี้ในการส่งออกหอยนางรมจากประเทศไทย
ไปมาเลเซียยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพที่ไม่ถึงเกณฑ์การส่งออก
จากการสอบถามเกษตรกรที่เลี้ยงหอยนางรมที่สุราษฎร์ธานีพบว่า ปัญหาที่มีค่อนข้างมาก
คือ ปัญหาน�้าเสียและน�้าจืด ปัญหาค่อนข้างน้อยคือ พันธุ์หอย อุณหภูมิและความลึกของน�้า
นอกจากนั้นเกษตรกรรายงานว่ามีปัญหา (ตารางผนวกที่ 2) เกษตรกรเสนอให้รัฐแก้ไขปัญหา
เรื่องน�้า และราคา ในส่วนความสนับสนุนจากภาครัฐ ที่เกษตรกรต้องการรัฐเข้ามาช่วยในด้าน
ราคาและตลาดค่อนข้างมาก รองลงมาที่ต้องการแต่ค่อนข้างน้อยคือ เรื่องของความรู้และการ
จดทะเบียน (ตารางผนวกที่ 3)
เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกษตรกรทั้งหมด
เห็นว่าอาจมีนักลงทุนจากประเทศไทยไปลงทุนเพาะเลี้ยงหอยนางรมในประเทศสมาชิกอาเซียน
อื่น รองลงไปส่วนใหญ่เห็นว่ามาตรฐานสินค้าจะสูงขึ้นเมื่อมีการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น ถัดไป
มากกว่าครึ่งหนึ่งเห็นว่าราคาหอยนางรมอาจลดลง มีไม่ถึงครึ่งที่เห็นว่าราคาหอยนางรมจะเพิ่มขึ้น
อาจมีแรงงานไทยไปรับจ้างในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น หรือมีแรงงานจากประเทศสมาชิกอื่น
เข้ามารับจ้างเพาะเลี้ยงหอยนางรมมากขึ้น รวมทั้งอาจมีการน�าเข้าจากประเทศสมาชิกอาเซียมากขึ้น
มีเพียงส่วนน้อยที่เห็นว่า จะมีทางเลือกปัจจัยการผลิตมากขึ้น หรือมีการเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยง/แปรรูป
ตลอดจนผลที่จะมีต่อการใช้ชีวิตของเกษตรกรและปัญหาทางสังคมอื่นๆ (ตารางผนวกที่ 4)
การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าทะเลของไทยที่กล่าวถึงในบทนี้ได้แก่การเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่
หอยแครง หอยนางรม ทั้งนี้ เป็นการเพาะเลี้ยงจากพื้นที่ไม่ไกลจากชายฝั่งและเป็นการเพาะเลี้ยง
อย่างง่ายเป็นการใช้ลูกพันธุ์และอาหารจากธรรมชาติ ปัญหาคุณภาพน�้าอันเกิดจากการปล่อยน�้า
เสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ปากอ่าวและริมฝั่งแม่น�้า ได้สร้างผลกระทบต่อ
การเพาะเลี้ยง ในกลุ่มของสมาชิกอาเซียนไทยเป็นผู้ผลิตหอยแมลงภู่ได้มากที่สุด ส่วนหอยแครง
มาเลเชียเป็นผู้น�าในการผลิต และส�าหรับการเลี้ยงหอยนางรมอินโดนีเซียเป็นผู้น�าในด้านผลผลิต
อย่างไรก็ตามในกลุ่มของอาเซียนยังมีการค้าหอยแมลงภู่ หอยแครง และหอยนางรมระหว่างกัน
ในปริมาณจ�ากัด อีกทั้งตลาดส่งออกของแต่ละประเทศมีไม่มาก ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้บริโภคภายใน
ประเทศเป็นส�าคัญ
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 61 I