Page 67 -
P. 67
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การเลี้ยงหอยแครงประสบปัญหาหลายด้าน ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงมีปริมาณไม่
สม�่าเสมอ และผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ค่อนข้างต�่า พันธุ์หอยแครงในประเทศไทยมีไม่พอกับความ
ต้องการของผู้เลี้ยงหอยแครง ต้องสั่งซื้อพันธุ์หอยขนาดเล็กจากประเทศมาเลเซียมาหว่านเลี้ยง ซึ่ง
บางครั้งจ�านวนพันธุ์มีน้อยและราคาแพง ระยะหลังประเทศมาเลเซียได้ออกกฎหมายระเบียบห้าม
จ�าหน่ายพันธุ์ลูกหอยออกนอกประเทศ กรมประมงได้จัดท�าแหล่งพ่อแม่พันธุ์หอยแครงภายใต้
โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 ท�าให้มีลูกหอยแครงเกิดขึ้นจ�านวนหนึ่ง
แต่ปริมาณยังไม่มากพอกับความต้องการของผู้เลี้ยง นอกจากนี้ในการเลี้ยงหอยแครงเกษตรกร
มักจ้างแรงงานนอกครัวเรือนจึงมีต้นทุนสูงในส่วนนี้ ทั้งยังมีปัญหาน�้าเสีย น�้าท่วมและน�้าจืด
เกษตรกรที่สุราษฎร์ธานีรายงานว่ามีปัญหาน�้าเสียมาก และรองลงไปเป็นปัญหาน�้าท่วมที่มีน�้าจืด
ลงแปลงหอยมาก และที่มีปัญหาบ้างค่อนข้างน้อยคือศัตรูหอยแครง เช่น ปลาดาว ปาดุกทะเล
(ตารางผนวกที่ 2) พื้นที่เลี้ยงมีจ�ากัดเกษตรกรมีปัญหาในการขอใบอนุญาตใช้พื้นที่เลี้ยงหอย ใน
ด้านตลาดยังมีผู้ซื้อน้อยราย เกษตรกรไม่มีอ�านาจต่อรอง เกษตรกรที่สอบถามเสนอว่าควรมีตลาด
กลางรับซื้อหอยแครง และควรควบคุมราคารับซื้อขั้นต�่า ทั้งยังมีการแข่งขันกับหอยแครงที่น�าเข้า
จากมาเลเซียซึ่งมีต้นทุนการผลิตต�่ากว่า ในส่วนของความสนับสนุนจากรัฐ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
หอยแครงที่สุราษฎร์ธานีต้องการความสนับสนุนด้านตลาดและราคา ตลอดจนการจดทะเบียน
ค่อนข้างมาก (ตารางผนวกที่ 3)
น่าสังเกตว่าปัจจุบันรัฐมีการชดเชยความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติให้แก่เกษตรกร
ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าที่จดทะเบียนฟาร์ม ส�าหรับการเพาะเลี้ยงหอย เกษตรกรต้องมีพื้นที่เลี้ยงไม่เกิน
สามกิโลเมตรจากชายฝั่ง ข้อนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท�าให้ผู้เลี้ยงหอยไม่นิยมเลี้ยงหอยในพื้นที่
ไกลชายฝั่งออกไป และในปัจจุบันการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลส่งผลให้พื้นที่เลี้ยงหอยบริเวณใกล้
ชายฝั่งเสื่อมโทรมลง ผลผลิตลดลง ส�าหรับการเพาะเลี้ยงหอยในประเทศไทยควรพิจารณาหาพื้นที่
ที่เหมาะสมใหม่ซึ่งอาจจะต้องขยับไกลจากฝั่งมากขึ้น
ในด้านความเห็นของเกษตรกรในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลกระทบที่เกษตรกร
ส่วนมากเห็นว่าจะเกิดขึ้นคือ การมีทางเลือกปัจจัยการผลิตมากขึ้นเนื่องจากการเลี้ยงหอยแครง
ยังต้องอาศัยการน�าเข้าลูกหอยจากมาเลเซีย อาจมีนักลงทุนไทยไปลงทุนเพาะเลี้ยงหอยแครงใน
ประทศสมาชิกอาเซียนอื่น อาจมีการน�าเข้ามากขึ้น และอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รองลงไป
ผลกระทบที่เกษตรกรมากกว่าครึ่งเห็นว่าอาจเกิดขึ้นคือ ราคาหอยแครงอาจเพิ่มขึ้นมีส่วนน้อยที่
เห็นว่าราคาจะลดลง อาจมีต่างชาติเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงในประเทศไทย มาตรฐานของสินค้า
อาจยกระดับขึ้น และเนื่องจากพื้นที่เลี้ยงมีจ�ากัดอาจมีผลต่อกรรมสิทธิ์พื่นที่ที่ใช้เลี้ยงหอย
น้อยกว่าครึ่งหนึ่งเห็นว่าอาจมีต่างชาติเข้ามาลงทุนแปรรูป และอาจมีผลต่อการแย่งกันใช้ทรัพยากร
ที่มีอยู่ มีส่วนน้อยที่เห็นว่าจะมีแรงงานจากประเทศไทยไปท�างานเพาะเลี้ยงหอยแครงในต่างประเทศ
หรือมีแรงงานจากอาเซียนเข้ามาท�างานด้านนี้มากขึ้น ดังนั้นผลกระทบด้านความเป็นอยู่และ
ปัญหาอาชญากรรมจึงมีส่วนน้อยที่เห็นว่าอาจเกิดขึ้น (ตารางผนวกที่ 4)
58 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน