Page 65 -
P. 65

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




            มีปัญหาพื้นที่เลี้ยงอยู่ปัจจุบันส่งผลให้ไม่คิดว่าจะมีต่างชาติเข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศแต่อาจจะ
            มีสินค้าน�าเข้าที่เข้ามาแข่งขันกับหอยแมลงภู่ที่เลี้ยงในประเทศไทย (ตารางผนวกที่ 4)



            5.2  การเพาะเลี้ยงหอยแครง

                  การเลี้ยงหอยแครง (Anadara gronosa) ในประเทศไทยมีมานานไม่น้อยกว่า 100 ปี โดย
            การรวบรวมพันธุ์หอยจากแหล่งลูกหอยในธรรมชาติเพื่อหว่านลงเลี้ยงในบริเวณที่เหมาะสม
            กั้นคอกแสดงอาณาเขตที่เลี้ยง มีการเลี้ยงครั้งแรกที่ต�าบลบางตะบูน อ�าเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
            ในเนื้อที่ 5 - 10 ไร่ ใช้เวลาเลี้ยง 1 - 2 ปี จึงเก็บขายได้ ต่อมาขยายการเลี้ยงไปในพื้นที่ใกล้เคียง
                  ในปี 2515 เกิดวิกฤติการณ์น�้าเสียบริเวณก้นอ่าวไทย เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมน�้าตาล
            บนฝั่งแม่น�้าแม่กลองและแม่น�้าเพชรบุรีปล่อยน�้าเสียจากการท�าน�้าตาลลงสู่แหล่งน�้าสาธารณะ
            มีผลเสียต่อคุณภาพน�้าในแหล่งเลี้ยงหอยแครงบริเวณอ่าวไทยตอนใน ผลผลิตหอยแครงของ
            ประเทศลดลงจนเกิดภาวะขาดแคลนหอยแครงส�าหรับบริโภคภายในประเทศ จ�าเป็นต้องมีการน�า
            พันธุ์หอยแครงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาเลี้ยง
                  การเลี้ยงหอยแครงแบบธุรกิจขนาดใหญ่เริ่มขึ้นในปี 2516 ในจังหวัดสตูล วิธีการเลี้ยง
            ส่วนใหญ่จะเลียนแบบจากการเลี้ยงในประเทศมาเลเซีย และมักจะมีชาวมาเลเซียร่วมลงทุน
            ในการเลี้ยงด้วยโดยชาวมาเลเซียจะเป็นผู้ด�าเนินการและแนะน�าวิธีการเลี้ยง

                  การเลี้ยงหอยแครงในบริเวณอ่าวไทยตอนในมีที่จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
            บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออกที่จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี บริเวณอ่าวไทยตอนใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
            และปัตตานี ส่วนด้านฝั่งอันดามันมีที่จังหวัดภูเก็ต สตูล และระนอง ผลผลิตที่ได้คิดเป็นประมาณ
            ร้อยละสี่ของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงโดยรวมจัดอยู่ในอันดับที่ห้า รองจาก กุ้งขาว ปลานิล
            ปลาดุก และหอยแมลงภู่ แต่ใช้พื้นที่เลี้ยงมากกว่าหอยแมลงภู่ เนื่องจากวิธีการเลี้ยงที่ต้องหว่าน
            ลูกหอยลงเลี้ยงตามพื้นทะเล พื้นที่เพาะเลี้ยงหอยแครงมีมากกว่าหกหมื่นไร่ในขณะที่จ�านวน
            ผู้เลี้ยงมีประมาณสองพันรายใกล้เคียงกับจ�านวนผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่
                  ผู้น�าด้านการเพาะเลี้ยงหอยแครงในภูมิภาคอาเซียน คือ มาเลเซีย มีผลผลิต 57.544 พันตัน
            อันดับที่สอง คือ ไทย ผลผลิต 40.526 พันตัน เท่าที่มีข้อมูลกัมพูชามีผลผลิตหอยแครงในอันดับที่
            สามแต่ปริมาณยังต�่าเพียง 0.800 พันตัน เป็นไปได้ว่าเวียดนามอาจเป็นผู้ผลิตหอยแครงอันดับที่
            สามของอาเซียน แต่ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในส่วนนี้ เนื่องจากรายงานผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของ
            เวียดนามไม่มีการรายงานผลผลิตแยกตามชนิดหอยที่เลี้ยง อย่างไรก็ตาม ในอาเซียนมีเพียงสี่
            ประเทศนี้ที่มีรายงานผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงหอยแครง (ตารางที่ 5.3)
                  มาเลเซียซึ่งมีผลผลิตหอยแครงมากที่สุดในกลุ่มสมาชิกอาเซียนมีมูลค่าต่อหน่วยต�่าที่สุด
            เช่นกัน เป็น 0.56 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ไทยมีผลผลิตต�่ากว่ามาเลเซียประมาณหนึ่งในห้า
            แต่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงกว่ามาเลเซียกว่าสองเท่า เป็น 1.29 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ยากที่ประเทศไทย
            จะแข่งขันกับมาเลเซียในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิดนี้ และมีโอกาสที่มาเลเซียจะสามารถส่ง
            หอยแครงเข้ามาขายในประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงหอยแครงให้ข้อมูลว่า
            หอยแครงที่เลี้ยงได้ในประเทศไทยเป็นที่นิยมมากกว่าชนิดที่จะน�าเข้าจากมาเลเซีย อนึ่งการเพาะเลี้ยง



            56    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70