Page 60 -
P. 60

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                   ด้านความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ เกษตรกรในกระบี่ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงรายใหญ่
              ท�างานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ประมงในพื้นที่ต้องการให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือโดยเฉพาะในด้าน
              ตลาดและราคา ต้องการจดทะเบียนกับกรมประมงซึ่งเห็นว่าเป็นประโยชน์ที่จะได้รับความดูแล
              จากภาครัฐ แต่เกษตรกรที่สงขลาซึ่งเป็นผู้เลี้ยงรายย่อยต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐค่อน
              ข้างน้อย โดยรวมเกษตรกรในพื้นที่ที่ศึกษาต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐมากที่สุดในเรื่อง

              ราคาและตลาด รองลงไปเป็นการจดทะเบียนฟาร์มกับกรมประมง ตามมาด้วยการให้ความรู้และ
              ถ่ายทอดเทคโนโลยี (ตารางผนวกที่ 3) เกษตรกรเสนอให้ภาครัฐส่งเสริมการเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้
              พันธุ์ปลาเพียงพอกับความต้องการที่มีอยู่ เข้ามาดูแลไม่ให้เกิดปัญหาน�้าเสีย ซึ่งเกษตรกรเห็นว่า
              มีปัญหาออกซิเจนในน�้าลดลงส่งผลให้อัตรารอดต�่า อนึ่งหากมีปัญหาความเสียหายที่เกิดขึ้นใน
              ช่วงมรสุมรัฐควรเข้ามาช่วยเหลือชดเชย (ซึ่งท�าให้เกษตรกรต้องการจดทะเบียนฟาร์มเพื่อให้
              สามารถร้องเรียนขอค่าชดเชยได้) และเนื่องจากราคาปลากะรังแกว่งขึ้นลงตามผลผลิตที่ได้
              เกษตรกรเสนอให้รัฐเข้ามาดูแลให้ราคามีเสถียรภาพมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเลี้ยงสัตว์น�้า
              ชนิดนี้
                   ส�าหรับความเห็นในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกษตรกรเกือบทั้งหมดเห็นว่าจะ
              ท�าให้มีการน�าเข้าปลากะรังจากประเทศใกล้เคียง รองลงไปเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่าน่าจะมีทาง
              เลือกปัจจัยการผลิตที่ดีขึ้น เช่น มีแหล่งที่จะหาซื้อพันธุ์และปลาเหยื่อได้เพิ่มขึ้น อาจมีต่างชาติเข้า
              มาลงทุนแปรรูป แต่ก็อาจมีปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเช่นกัน ถัดจากนี้มากกว่าครึ่งของเกษตรกร
              เห็นว่าอาจมีต่างชาติเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงปลากะรังในประเทศไทย ตลอดจนมีแรงงานจาก
              อาเซียนเข้าท�างานมากขึ้น และอาจมีผลต่อวิถีชีวิตตลอดจนอาจเกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นได้
              น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเกษตรกรเห็นว่าการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะส่งผลให้มาตรฐาน
              ผลผลิตสูงขึ้นเนื่องจากมีการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น มีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเกษตรเห็นว่า

              ราคาปลากะรังอาจลดลงเนื่องมีผลผลิตในประเทศและที่น�าเข้ามากขึ้น อาจมีนักลงทุนไทย
              ไปลงทุนเพาะเลี้ยงในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ และการเข้ามาของต่างชาติอาจมีผลให้มี
              การแย่งกันใช้ทรัพยากร ตลอดจนมีปัญหาที่เพาะเลี้ยงซึ่งมีอยู่จ�ากัด เกษตรกรส่วนน้อยให้
              ความเห็นว่าราคาปลากะรังอาจเพิ่มขึ้นและอาจมีแรงงานไทยออกไปท�างานในประเทศสมาชิก
              อาเซียนอื่น (ตารางผนวกที่ 4)
                   โดยสรุปการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ากร่อยที่ส�าคัญของไทยได้แก่การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวซึ่งได้มีการ
              พัฒนาทั้งเทคโนโลยีและผลผลิตต่อหน่วยเนื้อที่ อีกทั้งเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงมีการรวมกลุ่มกันอย่าง
              เข้มแข็งทั้งเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อความรู้และการพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยง หากเทียบในกลุ่ม
              อาเซียนแล้วไทยเป็นผู้น�าการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวที่มีศักยภาพสูงและสามารถแข่งขันได้ในกลุ่มของ
              อาเซียน ผลผลิตของกุ้งขาวประมาณร้อยละ 10 ใช้บริโภคภายในประเทศ ผลผลิตส่วนใหญ่ส่งเป็น
              สินค้าออกตลาดส่งออกที่ส�าคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป นอกจากการเพาะ

              เลี้ยงกุ้งขาวแล้วการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวมีเกษตรกรเพาะเลี้ยงอยู่บ้าง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะ
              เลี้ยงเพื่อป้อนตลาดในประเทศ ส่วนการเพาะเลี้ยงปลากะรังยังมีข้อจ�ากัดเกี่ยวกับลูกพันธุ์ที่หายาก
              การเพาะเลี้ยงยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเป็นส�าคัญ



                          สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 51 I
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65