Page 58 -
P. 58

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                   แม้ว่าผลผลิตปลากะรังของไทยจะยังต�่ากว่าอินโดนีเซียและมาเลเซีย แต่มูลค่าต่อหน่วย
              ยังต�่ากว่าทั้งสองประเทศซึ่งอาจเป็นเพราะความต่างกันของชนิดปลากะรังที่เพาะเลี้ยง ซึ่งยังต้อง
              อาศัยลูกพันธุ์จากธรรมชาติส่วนหนึ่ง หากไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลากะรังได้ในเชิงพาณิชย์น่าจะมี

              โอกาสการเพิ่มผลผลิตปลากะรังและมีโอกาสส่งออกได้
                   เมื่อเปรียบเทียบการเลี้ยงปลากะรังในประเทศไทย กับ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ
              สหภาพพม่า ลูกพันธุ์ปลาที่ใช้ปล่อยหนาแน่นต่างกัน ซึ่งอาจเป็นเพราะความหายากของลูกปลา
              และขนาดของปลาที่จับขาย ในประเทศไทยปล่อยลูกปลาบางเมื่อเทียบกับประเทศอื่น คือที่สงขลา
              ปล่อยลูกปลา 12 - 16 ตัวต่อตารางเมตร และที่กระบี่ 17 - 28 ตัวต่อตารางเมตร ในอินโดนีเซีย
              ปล่อยลูกปลา 150 - 200 ตัวต่อตารางเมตร และสหภาพพม่าปล่อยลูกปลา 89 - 278 ตัวต่อ
              ตารางเมตร ขนาดลูกปลาที่ใช้ต่างกัน ดังเช่นในกรณีของมาเลเซียอาจปล่อยลูกปลาขนาด 3 นิ้ว
              หรือ อาจอนุบาลจนลูกปลามีขนาด 8 นิ้ว ก่อนปล่อยลงกระชังเลี้ยง กรณีหลังลูกปลาจะไม่มาก
              เท่ากรณีแรก (ตารางผนวกที่ 5)

                   ระยะเวลาที่เลี้ยงในประเทศไทยใช้เวลา 8 เดือน ในอินโดนีเซีย 7 - 12 เดือน แต่ในฟิลิปปินส์
              เวลาประมาณ 5 เดือน คือเป็น 155 วันส�าหรับการเลี้ยงโดยใช้อาหารเม็ดและ 150 วันส�าหรับ
              การเลี้ยงโดยใช้ปลาเป็ด ไม่ต่างกันมาก
                   อัตรารอดต�่าที่สุดในสหภาพพม่า เป็นร้อยละ 30 มาเลเซียมีอัตรารอดสูงขึ้นเป็นร้อยละ 60
              ยังต�่ากว่าไทยซึ่งมีอัตรารอด ร้อยละ 77 - 78 ฟิลิปปินส์มีอัตรารอดสูงกว่าไทย คือร้อยละ 87
              อินโดนีเซียมีอัตรารอดดีที่สุด คือร้อยละ 90 - 95

                   ผลผลิตของไทยยังต�่ากว่าประเทศอื่น คือเป็น 12 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อรอบที่สงขลา
              และ 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อรอบ ต�่ากว่าอินโดเซียซึ่งเป็น 28 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อรอบ
              ในสหภาพพม่าผลผลิตเป็น 27 - 83 ตัวต่อตารางเมตรต่อรอบ ขนาด 420 - 500 กรัมต่อตัว คาด
              ว่าผลผลิตจะเป็นประมาณ 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อรอบ
                   ขนาดปลาที่จับขายในประเทศไทยมีขนาดใหญ่กว่าที่อื่น ขนาดผลผลิตที่สงขลาเป็น
              800 - 1,300 กรัมต่อตัว ที่กระบี่ 700 - 1,300 กรัมต่อตัว ในขณะที่การเลี้ยงในอินโดนีเซียจับปลา
              ขนาด 420 - 500 กรัมต่อตัว และที่ฟิลิปปินส์จับปลาขนาด 600 กรัมต่อตัวในกรณีเลี้ยงด้วยอาหาร
              เม็ด และ 560 กรัมต่อตัวในกรณีที่เลี้ยงด้วยปลาเป็ด

                   ต้นทุนการเลี้ยงปลากะรังที่สงขลาเป็น 5.43 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม และที่กระบี่
              เป็น 9.03 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ราคาที่ขายได้ของไทยค่อนข้างสูง ราคาขายที่สงขลาเป็น 10.81
              เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม และที่กระบี่เป็น 13.18 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ราคาขายของปลากะรัง
              ที่ฟิลิปปินส์เลี้ยงได้อยู่ในช่วง 5.82 - 10.67 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม และที่มาเลเซียเป็น
              7.87 - 24.58 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม แตกต่างไปตามขนาดและชนิดของปลากะรังที่เลี้ยง

                   การเพาะเลี้ยงปลากะรังของไทยยังเป็นรองอินโดนีเซียในเรื่องลูกพันธุ์ ประเทศสมาชิก
              อาเซียนมีหันมาสนใจพัฒนาวิธีการเลี้ยงปลากะรังเนื่องจากเป็นสัตว์น�้าที่ขายได้ราคาสูง และ
              เริ่มเพาะพันธุ์ได้ และเพื่อลดปัญหาการใช้ปลาเหยื่อเป็นอาหารสดที่มีต้นทุนสูงและยังอาจ



                          สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 49 I
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63