Page 54 -
P. 54

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




              ตารางที่ 4.3  เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตมูลค่าต่อหน่วยของผลผลิตปลากะพงขาวจากการ
                         เพาะเลี้ยงของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554


                 รายการ
                             ไทย   อินโดนีเซีย  เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  สหภาพพม่า  มาเลเซีย  กัมพูชา  สิงคโปร์  บรูไน


               ผลผลิต
               (พันตัน)       16.334  5.236   na       1.064*     0.080     17.607      0.140         0.392     0.030

               มูลค่า
               (เหรียญสหรัฐ     3.98        6.27    na     23.64        3.50      4.68      8.00      6.32      7.95
               ต่อ กก)

              ที่มา : ค�านวณจากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (2010)
              หมายเหตุ :*รวมปลากะพงและปลากะรัง

                   สหภาพพม่ายังมีผลผลิตปลากะพงขาวไม่มาก แต่ด้วยมูลค่าต่อหน่วยที่ต�่ากว่าสะท้อนว่า
              ต้นทุนการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในสหภาพพม่าอาจต�่ากว่าประเทศสมาชิกอื่นๆ สหภาพพม่า
              จึงมีโอกาสในการเพิ่มการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวเพื่อส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ส�าหรับประเทศไทย
              ปริมาณผลผลิตปลากะพงขาวยังเป็นรองมาเลเซีย แต่มูลค่าต่อหน่วยต�่ากว่ามาเลเซีย อย่างไร
              ก็ตามประเทศไทยมีข้อจ�ากัดในด้านพื้นที่เลี้ยงแม้ว่าในระยะหลังมีการเลี้ยงปลากะพงขาวใน
              บ่อกันมากขึ้น
                   ประเทศไทย และมาเลเซียเป็นผู้น�าการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในภูมิภาคอาเซียนโดย
              ต้นทุนการผลิตของไทยยังต�่ากว่ามาเลเซีย แต่ประเทศที่มีต้นทุนต�่าที่สุดคือสหภาพพม่าซึ่งยังมี
              ผลผลิตไม่มากแต่มีโอกาสที่จะขยายการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวได้ โดยเฉพาะที่เลี้ยงในกระชัง
              ทั้งในสิงคโปร์ก็มีความพยายามพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้
                   ปัจจุบันกรมประมงของไทยพยายามพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังขนาด
              ใหญ่ในทะเลซึ่งลงทุนสูง การขยายผลหากท�าได้จะเป็นการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ควรมี
              การศึกษาช่องทางตลาดเพื่อประกอบการก�าหนดแนวทางการพัฒนา โดยทั่วไปการพัฒนาการ
              เพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในประเทศไทยควรให้ความสนใจแก่วิธีเลี้ยงที่มีอัตรารอดสูงขึ้น ปรับปรุง
              การเพาะเลี้ยงในกระชังให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และลดต้นทุนค่าอาหารลง ผลตอบแทนสุทธิ
              ที่สูงขึ้นอาจจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการเลี้ยงปลากะพงขาวต่อไป
                   การส่งออกปลากะพงขาวจากประเทศไทยไปประเทศสมาชิกอาเซียนในช่วงปี 2550 - 2554
              มีไม่ถึงปีละเจ็ดสิบตัน ส่วนมากจะส่งไปเวียดนามซึ่งยังมีอัตราเพิ่มของการส่งออกสูง รองลงไปคือ
              ส่งไปอินโดนีเซีย แต่การส่งออกไปตลาดนี้ไม่เพิ่มขึ้น ที่ส่งไปสิงคโปร์และมาเลเซียมีปริมาณส่งออก
              น้อยเฉลี่ยไม่ถึงสองตันต่อปี ในส่วนที่น�าเข้าประเทศไทยน�าเข้าปลากระพงขาวจากอินโดนีเซีย
              มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม แต่มีปริมาณรวมไม่ถึงสิบตันต่อปี ไทยยังเป็นผู้ส่งออกสุทธิใน
              ภูมิภาค แต่มีปริมาณการค้าน้อย นอกจากสี่ประเทศนี้แล้วไม่มีการส่งออกไปประเทศสมาชิก
              อาเซียนอื่นๆ โอกาสทางการค้าปลากะพงขาวของไทยไม่แจ่มใสในตลาดอาเซียน




                          สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 45 I
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59