Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปัญหาการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวที่เกษตรกรโดยทั่วไปพบ มีตั้งแต่เรื่องของพื้นที่เพาะเลี้ยงที่มี
จ�ากัด พันธุ์กุ้งที่ให้อัตรารอดต�่า นกที่เข้ามากินกุ้ง ภูมิอากาศที่มีความแปรปรวนมากขึ้น ทั้งยังมี
ปัญหาอุทกภัยที่เกิดบ่อยครั้งขึ้น ปัญหาโรคกุ้ง ราคากุ้งขึ้นกับสภาวะการเลี้ยงกุ้งในตลาดโลกซึ่ง
ผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีการรวมตัวกันจะเข้าถึงข้อมูลได้ดีกว่าเกษตรกรรายย่อย เกษตรกรโดย
เฉพาะเกษตรกรรายย่อยยังขาดข้อมูลด้านการตลาด เกษตรกรรายย่อยบางรายประสบภาวะ
ขาดทุนต้องขายกิจการให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ ในตลาดส่งออกคาดว่าจะมีการแข่งขันเพิ่มขึ้น
จากอินเดียที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นในระยะหลัง ทั้งในตลาดปลายทางที่ประเทศไทยเป็น
ผู้ส่งออกหลักเช่น สหรัฐฯและยุโรปมีแนวโน้มปัญหาการกีดกันทางการค้า
เกษตรกรในพื้นที่ศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานีรายงานว่ามีปัญหาเรื่องอาหารกุ้งมาก
เนื่องจากมีทางเลือกจ�ากัดในการซื้ออาหาร ต้องซื้ออาหารจากผู้ค้าที่ขายพันธุ์กุ้งให้และใช้อาหาร
ตามปริมาณที่ผู้ค้าก�าหนด มีปัญหาค่อนข้างมากในเรื่องของพันธุ์กุ้งที่ต้องคัดให้ได้คุณภาพเพื่อ
ไม่ให้เกิดปัญหา EMS และมีปัญหาค่อนข้างมากในเรื่องของศัตรูกุ้ง เช่น นกและปูแสม (ตาราง
ผนวกที่ 2)
เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวที่สุราษฎร์ธานีให้ข้อคิดเห็นว่ารัฐควรเข้ามามีบทบาทดูแลลดการ
ผูกขาดการจ�าหน่ายพันธุ์กุ้ง สนับสนุนการจัดหาทุนหมุนเวียนให้แก่เกษตรกรรายย่อย ส่งเสริมให้
ฟาร์มที่ได้มาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) มีช่องทางใช้การได้รับการรับรอง
สนับสนุนการขอกู้เพื่อการลงทุน ให้ความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขโรคกุ้งรวมทั้ง EMS ควบคุม
การระบายน�้าออกจากฟาร์มไม่ให้ส่งผลลบต่อคุณภาพน�้าในแหล่งน�้าสาธารณะ และอ�านวยความ
สะดวกในขั้นตอนการส่งออกให้ท�าได้รวดเร็วโดยเฉพาะส�าหรับการส่งออกโดยกลุ่มเกษตรกรที่มี
การรวมตัวกันท�าธุรกิจ
ความช่วยเหลือที่เกษตรกรต้องการจากภาครัฐในระดับค่อนข้างมากคือ การให้ความรู้
และเทคโนโลยีด้านการเพาะเลี้ยงและการส่งเสริมด้านราคาและการตลาดให้สามารถขายได้ราคา
ที่ดีขึ้นและมีทางเลือกด้านการตลาดมากขึ้น ที่ต้องการค่อนข้างน้อยคือ การจัดการเรื่องโรคระบาด
แต่ทั้งนี้เกษตรกรในพื้นที่ที่ศึกษาเป็นเกษตรกรที่มีความสามารถในการจัดการบ่อเลี้ยงกุ้ง ร่วมมือ
กันเฝ้าระวังไม่ให้เกิดปัญหา EMS อยู่แล้ว (ตารางผนวกที่ 3)
เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวส่วนใหญ่ให้ความส�าคัญแก่การรวมกลุ่ม ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มทั้ง
ในระดับผู้ประกอบการรายใหญ่ในรูปของสมาคม/ชมรมผู้ประกอบธุรกิจในระดับประเทศ ภูมิภาค
และจังหวัด จัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างสม�่าเสมอ เกษตรกรมีการรวมตัวกันในรูปของ
สหกรณ์ที่ร่วมกันท�างานอย่างได้ผลรวมตัวกันเป็นชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทย การที่
เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถรวมกลุ่มร่วมมือกันได้สาเหตุหนึ่งมาจากการที่กุ้งเป็นสินค้าที่มีราคาสูง
ท�ารายได้ดี และในด้านราคาที่เกษตรกรขายได้ยังอิงราคา ตลาดโลกเป็นส�าคัญ จ�าเป็นที่เกษตรกร
ต้องติดตามข่าวสารการผลิต การตลาดและราคาในตลาดโลกเพื่อประกอบการวางแผนการผลิต
เกษตรกรเห็นความคุ้มค่าที่จะเข้ามารวมกลุ่มแลกเปลี่ยนข่าวสารและข้อมูลระหว่างกัน อนึ่งใน
ระดับเกษตรกรที่รวมตัวกันในรูปสหกรณ์หรือชมรมมีความได้เปรียบด้านขนาดธุรกิจซึ่งมีความ
คุ้มค่ามากขึ้นจากการรวมตัวกัน ไม่ว่าในการซื้อปัจจัยการผลิตหรือขายผลผลิต
42 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน