Page 52 -
P. 52
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ส�าหรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเกษตรกรในพื้นที่ที่ศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่ามี
โอกาสที่นักลงทุนจากประเทศไทยจะไปลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งขาวในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ
และแรงงานไทยมีโอกาสที่จะไปท�างานเพาะเลี้ยงกุ้งขาวในประเทศเหล่านี้ รองลงไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง
ของเกษตรกรเห็นว่าจะมีทางเลือกในการซื้อปัจจัยการผลิตมากขึ้น อาจมีนักลงทุนจากต่างประเทศ
เข้ามาลงทุนท�าธุรกิจแปรรูปกุ้งขาวในประเทศไทย มีโอกาสที่จะมีแรงงานจากอาเซียนเข้ามาท�างาน
มากขึ้น มาตรฐานสินค้ากุ้งขาวจะดีขึ้น เนื่องจากมีการผลิตเพื่อส่งออกซึ่งผลผลิตต้องได้มาตรฐาน
ตามความต้องการของผู้ซื้อ น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเกษตรกรเห็นว่าราคากุ้งขาวที่ขายได้จะสูงขึ้น
เนื่องจากจะมีการส่งออกมากขึ้น อาจมีต่างชาติเข้ามาลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งขาวในประเทศไทย มีโอกาส
ที่ประเทศไทยจะน�าเข้ากุ้งขาวจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้พัฒนาการเพาะเลี้ยง
กุ้งขาวหลังการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอาจมีผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึง
ปัญหาอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้ามาของต่างชาติซึ่งรัฐควรมีมาตรการการจัดการ
ที่ชัดเจน มีเกษตรกรส่วนน้อยที่เห็นว่าอาจมีผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร อาจมีปัญหา
แย่งชิงกันใช้ทรัพยากรตลอดจนกรรมสิทธิ์ในพื้นที่เพาะเลี้ยงในประเทศเนื่องจากปัจจุบันพื้นที่
เพาะเลี้ยงกุ้งก็มีจ�ากัดอยู่แล้ว (ตารางผนวกที่ 4)
4.2 การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว
เมื่อเริ่มการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ในภูมิภาคเอเชียตะวัน
ออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็นผู้น�าในด้านการเพาะพันธุ์และเป็นต้นแบบในการเพาะพันธุ์ปลา
กะพงขาว ส่งผลให้มีการขยายการเลี้ยงปลากะพงขาวทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคนี้ สามารถ
พัฒนาเป็นอาชีพที่ท�ารายได้ให้แก่ชุมชนชายฝั่งโดยทั่วไป เพิ่มผลผลิตขึ้นมาทดแทนสัตว์น�้าจาก
การท�าประมงที่จับจากแหล่งธรรมชาติได้ส่วนหนึ่ง ปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลา
กะพงขาวได้เป็นจ�านวนมากทั้งเพื่อเลี้ยงในประเทศไทยและยังมีที่ส่งขายต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน
สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง และจีน
ข้อดีของปลากะพงขาวนอกจากจะเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว เนื้อมีรสชาติดี มีราคาดี
ยังหาลูกพันธุ์ได้ง่าย มีทุกขนาด สามารถเลี้ยงได้แพร่หลายทั้งในแหล่งน�้าจืด น�้ากร่อย หรือในทะเล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากแม่น�้าที่มีความเค็มแปรเปลี่ยนได้ง่าย แต่ก็มีข้อเสียคือยังมีปัญหา
เรื่องตลาดส่งไปขายต่างประเทศได้ไม่มาก ทั้งนี้เพราะหลายประเทศได้สั่งซื้อลูกพันธุ์ปลาจาก
ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านไปเลี้ยง สามารถผลิตได้พอเพียง ราคาปลากะพงขาวต�่ากว่า
ราคาปลากะรัง ระยะหลังมีเกษตรกรที่เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังหันมาสนใจเลี้ยงปลากะรัง
มากขึ้น
ปัจจุบันกรมประมงได้ให้ความส�าคัญในการพัฒนาปรับปรุงพันปลากะพงขาว เนื่องจาก
หลังจากที่เลี้ยงกันมานาน พันธุ์ปลาเริ่มเสื่อมโทรม กรมประมงโดยความสนับสนุนจาก JICA
ด�าเนินการปรับปรุงพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งกระบี่ ให้ความส�าคัญในเรื่องการ
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 43 I