Page 57 -
P. 57

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




            ตารางที่ 4.5  เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตปลากะรังจากการเพาะเลี้ยงของแต่ละประเทศ
                       สมาชิกอาเซียนในปี 2554


               รายการ
                           ไทย    อินโดนีเซีย  เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  สหภาพพม่า  มาเลเซีย  กัมพูชา  สิงคโปร์  บรูไน


             ผลผลิต      3.183       10.580    na       1.064      0.140      6.306      0.140         0.144     0.005
             (พันตัน)
             มูลค่าต่อหน่วย     8.23       15.46    na   23.64*       4.50      9.89      8.00     18.07      7.95
             (เหรียญ
             สหรัฐ/กก.)
            ทีมา : ค�านวณจากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (2010)
            หมายเหตุ : *รวมปลากะพงและปลากะรัง


                  ในภาพรวมของประเทศสมาชิกอาเซียนการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากะรังน่าจะมีโอกาส
            ท�าได้มากขึ้นหลังจากแก้ปัญหาเรื่องลูกพันธุ์ได้ หากสามารถขยายการเพาะฟักและอนุบาล
            ลูกพันธุ์ปลากะรังในเชิงพาณิชย์และแก้ปัญหาต้นทุนค่าอาหารที่ยังต้องอาศัยปลาเหยื่อที่มีราคาสูงได้
            ราคาปลากะรังที่สูงสามารถท�ารายได้ดีให้แก่ผู้เพาะเลี้ยง
                  มูลค่าต่อหน่วยของปลากะรังแตกต่างกันมากระหว่างประเทศสมาชิก เนื่องจากการ
            เพาะเลี้ยงมีปลากะรังอยู่หลายชนิด เช่น ปลากะรังจุดน�้าตาล (Orange spotted grouper) ปลากะรัง

            หน้างอน (Humpback grouper) ปลากะรังด�า (Malabar grouper) ปลากะรังกุดสละ (Spotted
            coral grouper) และ Greasy grouper ตลอดจนปลากะรังชนิดอื่นๆ ที่ไม่ได้จ�าแนกไว้ (Groupers nei)
            โดยเฉลี่ยแล้วสหภาพพม่ามีมูลค่าต่อหน่วยของปลากะรังต�่าที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
            คือ 4.50 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมเป็นกลุ่มปลากะรังที่ไม่ได้จ�าแนกไว้ แต่ก็ยังมีปริมาณผลิตน้อย
            ถัดไปเป็นบรูไน มีมูลค่าต่อหน่วยสูงขึ้นเป็น 7.95 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ปลากะรังที่เลี้ยงใน
            บรูไนเป็นปลากะรังจุดน�้าตาล ตามมาด้วยกัมพูชา 8.00 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม เลี้ยงปลากะรัง
            จุดน�้าตาลเช่นกัน ที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงขึ้นมาอีกคือประเทศไทย 8.23 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม
            แต่ประเทศไทยมีการเลี้ยงปลากะรังหลายชนิด เนื่องจากส่วนใหญ่ยังต้องอาศัยลูกพันธุ์จากธรรมชาติ
            และรายงานผลผลิตปลากะรังไว้ในกลุ่มที่ไม่ได้จ�าแนก

                  มูลค่าต่อหน่วยในอันดับถัดไปจากต�่าไปสูง ได้แก่ มาเลเซีย 9.89 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม
            เป็น Greasy grouper อินโดนีเซียซึ่งมีผลผลิตปลากะรังมากที่สุดมีมูลค่าต่อหน่วยโดยเฉลี่ยเป็น
            15.46 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม นอกจากจะเลี้ยงปลากะรังที่เพาะพันธุ์ได้เองแล้วยังมีการเลี้ยง
            ปลากะรังชนิดอื่นๆ ด้วย และรายงานข้อมูลโดยไม่จ�าแนกชนิด สิงคโปร์ 18.07 เหรียญสหรัฐต่อ
            กิโลกรัม มีทั้งปลากะรังจุดน�้าตาล ปลากะรังหน้างอน ปลากะรังด�า และ ปลากะรังกุดสละ ตลอดจน
            ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ได้จ�าแนกไว้






            48    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62