Page 62 -
P. 62

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




              คือมาเลเซียมีผลผลิตน้อยลงไปมาก เป็นเพียง 2.625 พันตัน ตามมาด้วยกัมพูชามีผลผลิต
              น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของมาเลเซีย คือเป็น 1.200 พันตัน อันดับที่ห้าคือสิงคโปร์มีผลผลิตเพียง
              0.433 พันตัน เวียดนามอาจมีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แต่ไม่มีรายงานเนื่องจากผลผลิตจากการ
              เพาะเลี้ยงหอยรวมไว้ในรายการหอยทะเลไม่ได้จ�าแนกชนิด อย่างไรก็ตามการเพาะเลี้ยงหอยที่

              เวียดนามก�าลังพัฒนาได้แก่การเลี้ยงหอยแครงและหอยตลับ (ตารางที่ 5.1)
                   ฟิลิปปินส์มีมูลค่าต่อหน่วยของหอยแมลงภู่ต�่าที่สุด คือ 0.24 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม โดย
              มีผลผลิตเป็นที่สองรองจากไทยซึ่งมีมูลค่าต่อหน่วยเป็น 0.56 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม สูงกว่า
              ฟิลิปปินส์เกือบเท่าตัว แต่ไทยเป็นประเทศที่มีผลผลิตสูงที่สุดที่มีมูลค่าต่อหน่วยต�่า ในอันดับ
              ถัดไปคือมาเลเซีย 0.66 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม สิงคโปร์ 0.70 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม และ
              กัมพูชา 1.00 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ส�าหรับมูลค่าต่อหน่วยของกัมพูชาอาจเป็นการประเมิน
              จากราคาผลผลิตหอยในประเทศนี้โดยทั่วไปซึ่งส�าหรับหอยแครงในกัมพูชา ก็มีมูลค่าต่อหน่วยเท่ากัน


              ตารางที่ 5.1  เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตหอยแมลงภู่ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554


                     รายการ
                                      ไทย       เวียดนาม  ฟิลิปปินส์  มาเลเซีย  กัมพูชา  สิงคโปร์


               ผลผลิต (พันตัน)       84.665    na      22.443       2.625       1.200    0.433
               มูลค่าต่อหน่วย
               (เหรียญสหรัฐต่อ กก.)      0.56    na      0.24       0.66       1.00       0.70

               ที่มา : ค�านวณจากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (2010)

                   แม้ว่ามูลค่าต่อหน่วยของหอยแมลงภู่ในประเทศไทยจะสูงกว่าฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นประเทศที่
              มีปริมาณผลผลิตมากรองลงไป แต่ผลผลิตหอยแมลงภู่ของไทยมีแนวโน้มลดลงจากการเลี้ยงใน

              พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และยังมีการแข่งขันจากน�าเข้าหอยแมลงภู่ที่น�าเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก
              อาเซียน ดังนั้นการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยง
              หอยแมลงภู่ของไทย ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาการเพาะเลี้ยงในประเทศที่ควรได้รับการแก้ไข
              เพื่อให้ยังสามารถรักษาระดับการผลิตที่เป็นผู้น�าในกลุ่มสมาชิกอาเซียนไว้ได้
                   การส่งออกหอยแมลงภู่จากประเทศไทยไปสมาชิกอาเซียนมีแนวโน้มลดลงที่ส่งไปมากที่สุด
              คือ ส่งไปเวียดนาม รองลงไปเป็นมาเลเซียและสิงคโปร์ มีส่งออกไปสหภาพพม่าและ สปป.ลาว
              เล็กน้อย ปริมาณส่งออกไปกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมีไม่ถึงสามร้อยตันต่อปี การน�าเข้า
              หอยแมลงภู่จากประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน ส่วนที่ประเทศไทยน�าหอยแมลงภู่เข้า
              มากที่สุดคือน�าเข้าจากกัมพูชา ตามมาด้วยมาเลเซียและอินโดนีเซีย และมีที่น�าเข้าจากเวียดนาม
              สิงคโปร์ไม่มาก ปริมาณที่น�าเข้าน้อยกว่าที่ส่งออกประมาณครึ่งหนึ่ง แต่ทั้งการน�าเข้าและส่งออก

              มีแนวโน้มลดลง




                          สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 53 I
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67