Page 53 -
P. 53

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




            คัดสายพันธุ์ การเจริญเติบโตและปัญหาโรคโดยเฉพาะที่เกิดจากไวรัส ขณะนี้มีสายพันธุ์ปลากะพงขาว
            ที่สืบค้นได้อยู่ 20 - 30 สายพันธุ์ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชายฝั่งที่สงขลา (NICA) ได้
            ตรวจ DNA แล้วพบว่าหากมีการคัดเลือกพันธุ์ ก็จะสามารถปรับปรุงพันธุ์ได้ และจะท�าให้อัตรา
            การเจริญเติบโตสูงขึ้น ต้านทานโรคดีขึ้น และลดการเป็นโรคลง
                                                           9
                  ปลากะพงขาวเป็นสัตว์น�้าที่มีการเพาะเลี้ยงในทุกประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีพื้นที่ติดทะเล
            ยกเว้น สปป.ลาวเพียงประเทศเดียวที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเลจึงไม่มีการเลี้ยงปลากะพงขาว ในกรณี
            ของเวียดนามเนื่องจากรายงานข้อมูลของเวียดนามไม่ได้จ�าแนกปลาชนิดนี้แต่รวมอยู่ในผลผลิต
            ปลาทะเลอื่นๆ จึงไม่มีรายงานผลผลิตปลากะพงขาวแยกออกมาเช่นเดียวกับปลากะรัง และใน
            ฟิลิปปินส์ไม่ได้แยกผลผลิตปลากะพงออกจากปลากะรังรายงานรวมเป็นปลากะพงและปลากะรัง
            แต่คาดว่าผลผลิตในส่วนนี้ของฟิลิปปินส์จะมีปลากะรังมากกว่าปลากะพง
                  ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในประเทศไทยมีอยู่ไม่ถึงร้อยละสองของผลผลิต

            จากสัตว์น�้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงโดยรวม ผู้น�าในการเลี้ยงปลากะพงขาวของอาเซียนคือมาเลเซีย
            ในปี 2554 มีผลผลิต 17.607 พันตัน สูงกว่าไทยซึ่งมีผลผลิตรองลงมาแต่ต�่ากว่ามาเลเซียไม่มาก
            คือเป็น 16.334 พันตัน แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่เพาะพันธุ์ปลากะพงขาวได้และ
            เป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ประเทศอื่นๆ แต่วิธีการเลี้ยงในประเทศไทยโดยเฉพาะที่เลี้ยงในกระชัง
            ยังท�าในรูปแบบเดิม แม้จะมีการขยายการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อก็ไม่ท�าให้ผลผลิตปลากะพงขาว
            เพิ่มขึ้นมากในขณะที่ผลผลิตจากการเลี้ยงในกระชังในแหล่งเลี้ยงเดิมมีแนวโน้มลดลง
                  ประเทศที่เลี้ยงปลากะพงขาวเป็นอันดับที่สามของอาเซียนคือ อินโดนีเซียแต่มีผลผลิตเพียง

            ประมาณหนึ่งในสามของไทยและมาเลเซีย คือ เป็น 5.236 พันตัน หลังจากที่เพาะพันธุ์ปลากะรัง
            ได้ อินโดนีเซียหันมาส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลากะรังซึ่งมีราคาขายสูง อาจเป็นสาเหตุ หนึ่งที่ท�าให้
            ผลผลิตปลากะพงขาวของอินโดนีเซียไม่สูง เนื่องจากในพื้นที่เลี้ยงปลาในทะเลและในน�้ากร่อย
            เกษตรกรเลือกได้ว่าจะเลี้ยงปลากะรังหรือปลากะพงขาว เมื่อแก้ปัญหาข้อจ�ากัดเรื่องพันธุ์
            ปลากะรังได้เกษตรกรอินโดนีเซียสนใจเลี้ยงปลากะรังที่ท�ารายได้ดีกว่าปลากะพงขาว (ตารางที่ 4.3)
                  ผลผลิตปลากะพงขาวจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ มีไม่ถึงประเทศละหนึ่งพันตันรวม
            ทั้งฟิลิปปินส์ซึ่งข้อมูลที่รายงานรวมไว้ทั้งปลากะพงและปลากะรัง สิงคโปร์มีผลผลิตปลากะพงขาว
            392 ตัน เป็นประเทศที่พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงปลาในทะเลเพื่อเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง
            ถัดไปเป็นกัมพูชามีผลผลิตปลากะพงขาว 140 ตัน ตามมาด้วยสหภาพพม่า 80 ตัน และบรูไน 30 ตัน

                  ในด้านมูลค่าต่อหน่วยผลผลิต สหภาพพม่ามีมูลค่าต่อหน่วยของปลากะพงขาวต�่าที่สุด คือ
            เป็น 3.50 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ไทยมีมูลค่าต่อหน่วยของปลากะพงขาวสูงกว่าสหภาพพม่า
            คือ 3.98 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม อันดับที่สามคือมาเลเซีย 4.68 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม
            อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน และกัมพูชาสูงกว่าค่อนข้างมาก คือ เป็น 6.27 6.32 7.95 และ 8.00
            เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัม ตามล�าดับ (ตารางที่ 4.3)


              9    ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ส�านักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง




            44    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58