Page 72 -
P. 72
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
Program และ Norway’s Institute for Aquatic Research โดยมีหน่วยงานทางฟิลิปปินส์ได้
Bureau Fisheries and Aquatic Resources และ Central Luzon University ร่วมกันผลิตสาย
พันธุ์ปลานิล Genetically Improved Farm Tilapia (GIFT) ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในการเลี้ยงปลานิล
ในปัจจุบันภาครัฐให้ความสนับสนุนทั้งงานวิจัย และการส่งเสริม การเพาะเลี้ยงจนสามารถ
พัฒนาการผลิตเป็นสัตว์น�้าที่ท�ารายได้จากการส่งออกให้แก่ฟิลิปปินส์
ปลานิลเป็นสัตว์น�้าที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเป็นอันดับที่สองของประเทศไทย และเป็น
สัตว์น�้าจืดที่เลี้ยงกันมากที่สุดในปัจจุบัน มีผลผลิตกว่าร้อยละสิบของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง
ทั้งหมด การเพาะเลี้ยงปลานิลในประเทศไทยมีทั้งที่เลี้ยงในบ่อดินและในกระชัง ปัจจุบันมีปราชญ์
ปลานิลพัฒนาและแนะน�าการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวในบ่อดินสามารถท�ารายได้สูงให้แก่
เกษตรกร การเลี้ยงปลานิลในกระชังนิยมให้อาหารส�าเร็จรูป หลายแห่งเริ่มมีปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัจจุบันกรมประมงอนุญาตให้วางกระชังได้ไม่เกินร้อยละสองของพื้นที่แหล่งน�้า และกรมประมง
ยังร่วมมือกับส�านักวิจัยการเกษตรศึกษาการเลี้ยงปลานิลในกระชังเพื่อน�าผลมาใช้ในการส่งเสริม
การเลี้ยงปลานิลในกระชังตลอดจนการก�าหนดพื้นที่วางกระชังและการจัดการการเลี้ยงเพื่อไม่ให้
เกิดผลเสียต่อสภาวะแวดล้อม
พื้นที่ จ�านวนเกษตรกร และผลผลิตปลานิลในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
นับตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันมีพื้นที่เพาะเลี้ยงใกล้หกแสนไร่ และผู้เลี้ยงปลานิลประมาณหนึ่งหมื่น-
สี่พันราย ทั้งพื้นที่เพาะเลี้ยง จ�านวนผู้เลี้ยงและผลผลิตมีอัตราเพิ่มใกล้เคียงกัน
ปลานิลเป็นสัตว์น�้าจืดที่มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงในหลายประเทศทั่วโลก ในภูมิภาค
อาเซียนมีการเลี้ยงกันเกือบทุกประเทศ ที่ยกเว้นไม่มีรายงานผลผลิตปลานิลจากการเพาะเลี้ยงมี
เฉพาะบรูไน แต่อาจจะรวมอยู่ในข้อมูลผลผลิตปลาน�้าจืดที่ไม่ได้จ�าแนกซึ่งก็มีปริมาณผลผลิตรวม
น้อยมาก ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีผลผลิตปลานิลมากที่สุดคือ อินโดนีเซีย ผลผลิต 601.334
พันตัน อันดับที่สองคือฟิลิปปินส์ ผลผลิต 257.385 พันตันยังไม่ถึงครึ่งหนึ่งของอินโดนิเชีย
แต่ฟิลิปปินส์ก็มีการส่งออกปลานิลเพิ่มขึ้นในตลาดโลก ไทยเป็นผู้ผลิตปลานิล อันดับที่สามของ
อาเซียนมีผลผลิต 139.375 พันตัน ยังไม่ถึงหนึ่งในสามของอินโดนีเซีย ประเทศที่มีผลผลิตในหลัก
หมื่นตัน ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย สหภาพพม่า และ สปป.ลาว โดยมีผลผลิต 65.000, 43.069,
40.185, และ 21.700 พันตันตามล�าดับ กัมพูชามีผลผลิตปลานิลจากการเพาะเลี้ยงเพียง 2 พันตัน
และสิงคโปร์มีผลผลิตปลานิลเพียง 46 ตัน (ตารางที่ 6.1)
ตารางที่ 6.1 เปรียบเทียบปริมาณผลผลิตและมูลค่าต่อหน่วยจากการเพาะเลี้ยงปลานิลของแต่ละ
ประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2554
อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สหภาพพม่า มาเลเซีย สปป.ลาว กัมพูชา สิงคโปร์
รายการ
ไทย
ผลผลิต 139.375 601.334 65.000 257.385 40.185 43.069 21.700 2.000 0.046
(พันตัน)
มูลค่าต่อหน่วย 1.41 1.77 1.50 1.72 0.80 1.69 1.50 1.50 3.64
(เหรียญสหรัฐ/กก.)
ที่มา : ค�านวณจากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 63 I