Page 75 -
P. 75

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                  ปัญหาในการเพาะเลี้ยงปลานิลที่พบโดยทั่วไปได้แก่ พื้นที่เพาะเลี้ยงที่มีจ�ากัดเนื่องจากมี
            การขยายพื้นที่มามากแล้วทั้งที่เลี้ยงในบ่อดินและในกระชัง ส�าหรับการเลี้ยงในกระชังบางแห่งมี
            ปัญหาน�้าเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งยังมีปัญหาโรคปลานิลที่เกิดจากปรสิต ต้นทุนการผลิต
            สูงส่วนเหลื่อที่เกษตรกรได้รับจึงค่อนข้างต�่า ทั้งเกษตรกรยังมีปัญหาแหล่งทุน คุณภาพของผลผลิต
            ยังไม่ได้มาตรฐานเป็นปัญหาในการส่งออก ในการวางกระชังต้องได้รับการรับรองจากกรมเจ้าท่าด้วย
            บางครั้งมีปัญหาเกษตรกรไม่สามารถต่อทะเบียนฟาร์มและขอการรับรอง GAP ได้ ท�าให้ไม่สามารถ

            ขายผลผลิตเพื่อส่งออก ในด้านการตลาดการรวบรวมผลผลิตท�าได้ยากหากเกษตรกรไม่มีการ
            รวมกลุ่มเนื่องจากเกษตรกรส่วนมากเป็นผู้เลี้ยงปลารายย่อย มีการผูกขาดในการรับซื้อ ราคามี
            ความผันผวนเกษตรกรขาดอ�านาจต่อรองราคา เกษตรกรยังขาดความรู้ในเรื่องระบบตลาดทั้งตลาด
            ในประเทศและตลาดส่งออก ตลอดจนการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า


            ตารางที่ 6.2  ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลานิล

                    รายการ         ผลผลิต ต้นทุนคงที่ ต้นทุน ต้นทุนรวม ราคาขาย  ก�าไร
                                   (กระชัง:   (บาท/กก.) ผันแปร (บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.)
                                   กก./ตร.ม.)      (บาท/กก.)
                                   (บ่อดิน:
                                    กก./ไร่)
             2545-กาฬสินธุ์ กระชัง 9 ตร.ม.   1  76   1   34   35       39       4
             2545-กาฬสินธุ์ กระชัง 18 ตร.ม.   1  59   1   36   37      40       3
             2547-สกลนคร บ่อดิน   2  254       4      27      31       35       4
             2550-เฉลี่ยทั้งประเทศ กระชัง   3  82   1   32    33       41       8
             2550-เฉลี่ยทั้งประเทศ บ่อดิน   3  803   2   23   25       31       6
             2551-กาฬสินธุ์ กระชัง   4  44     5      31      36       46      10
             2556-ขอนแก่น กระชัง   5  83       9      47      56       61       5
            ที่มา :  วัฒนา (2545) วรเดช (2548)  ส�านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2550)  ชาญณรงค์ (2551)  ข้อมูล
                                                                               5
                  1
                                                                 4
                                       3
                            2
                 ส�ารวจในโครงการศึกษานี้ (2556)  เฉพาะปี 2556 เป็นราคาปี 2556 ที่มาจากการสอบถามเกษตรกร
                 นอกจากนั้นเป็นราคา ณ ระดับราคา ปี 2554
                  เกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังที่ขอนแก่นให้ความเห็นว่าราคาอาหารปลานิลสูง เป็น
            ปัญหามาก รองลงไปที่เป็นปัญหาค่อนข้างมากคือพันธุ์ปลาและยารักษาโรคปลา เกษตรกรซึ่ง

            เลี้ยงปลาในกระชังมีปัญหาหน้าแล้งน�้าน้อย ความลึกไม่เพียงพอ และยังมีปัญหาศัตรูปลานิล
            ได้แก่ ปลาชะโดและปรสิต ที่มีปัญหาแต่ค่อนข้างน้อยได้แก่ปัญหาน�้าเสีย น�้าไม่พอ และอุณหภูมิน�้า
            (ตารางผนวกที่ 2) เกษตรกรเสนอให้รัฐควบคุมคุณภาพและราคาอาหารปลานิล ศึกษาวิจัยเรื่อง
            โรคปลานิลเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไข ตลอดจนจัดการน�้าให้มีเพียงพอส�าหรับการเลี้ยงปลานิล
            และส่งเสริมการส่งออกปลานิลให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ในส่วนความสนับสนุนจากรัฐ
            เกษตรกรรายงานว่าที่ต้องการค่อนข้างมากคือ ด้านความรู้ และราคา ที่ต้องการจดทะเบียนก็มีแต่
            ค่อนข้างน้อย (ตารางผนวกที่ 3)



            66    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80