Page 78 -
P. 78
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ให้ข้อมูลว่ามีการน�าปลาดุกเข้าจากเวียดนามเพื่อส่งออกในช่วงที่ซื้อได้ในราคาต�่ากว่าปลาดุกใน
ประเทศ การน�าเข้าจากสองประเทศนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มีที่น�าเข้าจากสหภาพพม่า
อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชาเล็กน้อยและมีแนวโน้มการน�าเข้าลดลง ในการค้าปลาดุกใน
ภูมิภาคอาเซียน มาเลเซียเป็นคู่ค้าที่ส�าคัญของไทย เป็นแหล่งน�าเข้าที่ส�าคัญ แต่อัตราการเติบโต
ยังต�่ากว่าการน�าเข้าจากเวียดนามซึ่งแม้จะน�าเข้ามาน้อยกว่าแต่ก็ขยายตัวเร็วกว่า ในส่วนของการ
ส่งออกตลาดส�าคัญของไทย คือ สิงคโปร์ แต่อัตราการเติบโตเป็นรองมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศ
ปลายทางรองจากสิงคโปร์ ในภูมิภาคอาเซียนประเทศไทยมีการค้าปลาดุกในปริมาณสูงกว่า
การค้าปลานิล
ผลผลิตต่อไร่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงปลาดุกสูงตามการเลี้ยงที่ปล่อยพันธุ์ปลาหนาแน่น
ต้นทุนหลักคือ ค่าอาหารซึ่งสูงเกินครึ่งหนึ่งของต้นทุนรวม เกษตรกรสามารถท�าก�าไรจากการ
เลี้ยงปลาชนิดนี้ได้ เฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ที่ศึกษาที่จังหวัดสุรินทร์เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ท�านา
ข้าวเป็นอาชีพหลัก และกันพื้นที่ส่วนหนึ่งขุดบ่อขนาดเล็กเลี้ยงปลาดุก โดยมีผู้น�ากลุ่มเกษตรกร
เป็นผู้ติดต่อสั่งซื้อพันธุ์ปลา อาหาร และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ทั้งให้ค�าแนะน�าวิธีเลี้ยง ตลอดจน
ติดต่อผู้รับซื้อ รวบรวมผลผลิต จัดหาตลาดและวางแผนการผลิต ให้แก่เกษตรกร พันธุ์ปลาดุกที่
ได้มายังไม่เพียงพอกับที่ต้องการ ผลผลิตต่อไร่ยังค่อนข้างต�่า แต่ขายได้ราคาดี แม้ต้นทุนจะสูง
(ตารางที่ 6.4)
เกษตรกรที่ท�าหน้าที่รวบรวมและส่งออกปลาดุกให้ความเห็นว่าเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
ปลาดุกส่วนใหญ่ไม่ได้จดทะเบียนกับกรมประมงซึ่งเป็นปัญหาในการส่งออก เนื่องจากสินค้าที่
ส่งออกต้องใช้เอกสารการเคลื่อนย้ายสัตว์น�้า (MD) ที่กรมประมงออกให้เฉพาะแก่ผู้เพาะเลี้ยงที่
ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ประเทศปลายทางจะรับซื้อเฉพาะสินค้าที่มีเอกสารและสามารถตรวจสอบย้อน
กลับได้ (traceability) ในการพัฒนาการส่งออกปลาดุกปัญหาข้อนี้ควรได้รับการแก้ไข
ตารางที่ 6.4 ต้นทุน - รายได้การเพาะเลี้ยงปลาดุก
ผลผลิต ต้นทุนคงที่ ต้นทุน ต้นทุนรวม ราคาขาย ก�าไร
รายการ (กก./ไร่) (บาท/กก.) ผันแปร (บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.)
(บาท/กก.)
2542-เฉลี่ยทั้งประเทศ 1 3,287 1 19 20 25 5
2546-สุพรรณบุรี 2 6,088 1 27 28 31 3
2547-อ่างทอง 3 11,533 0.16 22 22 28 6
2548-นครปฐม 4 7,712 1 21 22 31 9
2556-สุรินทร์ 5 779 0.07 37 37 48 11
ที่มา : กรมประมง (2542) พฤทธินนท์ (2545) วิทยา (2548) ธิญดา (2548) ข้อมูลสอบถามจากเกษตรกร
3
5
4
1
2
ในโครงการศึกษานี้ (2556) เฉพาะปี 2556 เป็นราคาปี 2556 ที่มาจากการสอบถามเกษตรกร
นอกจากนั้นเป็นราคา ณ ระดับราคา ปี 2554
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 69 I