Page 79 -
P. 79

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                  ปัญหาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลาดุกที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ พันธุ์ปลาซึ่งในบางแห่งพันธุ์
            ปลาไม่แข็งแรงเติบโตช้าและหาซื้อพันธุ์ปลาได้ยากในช่วงฤดูหนาว อาหารปลาขาดแคลน และมี

            ราคาสูงโดยที่ราคาปลาดุกไม่เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของค่าอาหารปลา ส่วนเหลื่อมที่เกษตรกรได้
            รับลดลง ขาดแคลนน�้าและมีปัญหาน�้าเสีย ปลาเป็นโรคอัตรารอดจึงต�่า ในช่วงที่มีปลาดุกออกสู่
            ตลาดมากราคาขายที่เกษตรกรได้รับต�่า เกษตรกรเห็นว่าผู้ค้ากดราคารับซื้อปลา
                  ในการสอบถามเกษตรกรที่จังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรเห็นว่ามีปัญหาเรื่องของอาหารปลา
            เป็นปัญหามากที่สุดและปัญหาเรื่องของอุณหภูมิน�้าเป็นปัญหามากเช่นกัน แต่ทั้งนี้อาจเป็นเฉพาะ

            พื้นที่นี้มีปัญหาน�้าน้อยในช่วงแล้ง ที่เป็นปัญหาระดับค่อนข้างมากคือ เรื่องของพันธุ์ปลาที่หาซื้อ
            ไม่ได้ตามที่ต้องการ (ตารางผนวกที่ 2) ที่เกษตรกรต้องการให้รัฐให้ความสนับสนุนมากคือ เรื่อง
            ของราคาให้ขายได้ราคาที่ดีขึ้น รองลงไปคือการหาช่องทางตลาดเพิ่มขึ้น ให้มีทางเลือกในการขาย
            ผลผลิต ที่ต้องการความสนับสนุนจากภาครัฐแต่ค่อนข้างน้อยคือ เรื่องของความรู้ในการเพาะเลี้ยง
            และการจัดการน�้าในช่วงหน้าแล้ง น่าสังเกตว่าเกษตรกรไม่ต้องการให้รัฐเข้ามาจดทะเบียนฟาร์ม

            แต่ทั้งนี้อาจเพราะเป็นเกษตรกรขนาดเล็กขายผลผลิตให้แก่ตลาดในพื้นที่ไม่มีการส่งออก (ตาราง
            ผนวกที่ 3)
                  ในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เกษตรกรที่สอบถามทั้งหมดเห็นว่าอาจมีผลต่อ
            สภาวะแวดล้อมเมื่อมีการขยายการเพาะเลี้ยงมากขึ้นเนื่องจากอาจมีปัญหาน�้าเสียจากบ่อเลี้ยง
            ปลาที่ปล่อยลงสู่แหล่งน�้าสาธารณะ และอาจมีการน�าเข้าปลาดุกจากประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น

            ดังที่มีการน�าเข้าจากมาเลเซียอยู่บ้างแล้วในปัจจุบัน เกือบทุกรายเห็นว่าจะมีต่างชาติเข้ามา
            เพาะเลี้ยงปลาดุกในประเทศไทย มากกว่าครึ่งเห็นว่าอาจน�าไปสู่ปัญหาอาชญากรรมซึ่งขึ้นอยู่กับ
            การดูแลควบคุมของรัฐและการแย่งกันใช้ทรัพยากรในประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของน�้าที่มีปัญหา
            อยู่ในปัจจุบัน น้อยกว่าครึ่งเห็นว่าอาจมีนักลงทุนไทยไปลงทุนในต่างประเทศเช่นใน กัมพูชา
            สปป.ลาว และเวียดนาม อาจมีแรงงานไทยที่มีทักษะตลอดจนนักวิชาการไปท�างานเพาะเลี้ยงใน

            ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ในขณะที่อาจมีแรงงานต่างชาติเข้ามาท�างานเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าใน
            ประเทศไทย เฉพาะการเพาะเลี้ยงปลาดุกมักใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นส�าคัญ เนื่องจากเป็นการ
            เพาะเลี้ยงโดยเกษตรกรรายเล็กเป็นส่วนมาก ส�าหรับมาตรฐานสินค้าเกษตรกรส่วนใหญ่ยังเห็นว่า
            ไม่เปลี่ยนแปลง มีน้อยกว่าครึ่งที่เห็นว่าอาจมีการยกระดับมาตรฐานสินค้าปลาดุกเพื่อให้ส่งออก
            ได้ ในด้านความเป็นอยู่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเกษตรกรที่สอบถามเห็นว่าอาจท�าให้ค่าใช้จ่าย
            ในการด�ารงชีพสูงขึ้น มีเกษตรกรส่วนน้อยที่เห็นว่าอาจจะมีผลเพิ่มทางเลือกปัจจัยการผลิต

            การเพิ่มขึ้นของราคาปลาดุกที่ขายได้ การเข้ามาลงทุนแปรรูปโดยต่างชาติซึ่งเป็นเพราะเห็นว่า
            ตลาดปลาดุกยังจ�ากัดและยังใช้บริโภคในประเทศเป็นส�าคัญ ทั้งในเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่เพาะเลี้ยง
            ก็มีเกษตรกรส่วนน้อยที่เห็นว่าจะมีปัญหา เนื่องจากปัจจุบันมีการเลี้ยงเต็มพื้นที่อยู่แล้วและที่ดิน
            มีราคาแพงเกษตรกรที่ใช้ที่ดินท�ากินคงไม่ขายที่ดิน (ตารางผนวกที่ 4)






            70    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84