Page 76 -
P. 76
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ส�าหรับผลกระทบที่เกษตรกรเห็นว่าอาจเกิดขึ้นจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
เกษตรกรที่จังหวัดขอนแก่นเห็นว่าจะท�าให้มาตรฐานปลานิลสูงขึ้น อีกทั้งจะมีแรงงานไทยที่
สามารถออกไปรับจ้างเลี้ยงปลานิลในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ และจะมีแรงงานจากอาเซียน
เข้ามาท�างานในประเทศมากขึ้น จึงอาจน�าไปสู่ปัญหาอาชญากรรมได้หากรัฐดูแลไม่ทั่วถึง มากกว่า
ครึ่งเห็นว่าราคาปลานิลที่ขายได้จะสูงขึ้น อาจมีนักลงทุนจากประเทศไทยไปลงทุนเลี้ยงปลานิลใน
ประเทศอื่น และ อาจมีการน�าเข้าปลานิล น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเกษตรกรเห็นว่าอาจมีต่างชาติเข้า
มาลงทุนเพาะเลี้ยง/แปรรูปปลานิลในประเทศไทย ดังนั้นอาจมีผลต่อการด�ารงชีพของเกษตรกรใน
ประเทศ รวมทั้งอาจมีปัญหาสิ่งแวดล้อมการแย่งชิงทรัพยากรตลอดจนกรรมสิทธิ์ในที่เพาะเลี้ยง
มีส่วนน้อยที่เห็นว่าจะมีผลต่อทางเลือกปัจจัยการผลิต (ตารางผนวกที่ 4)
6.2 การเพาะเลี้ยงปลาดุก
ในประเทศไทยมีพันธุ์ปลาดุกพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักทั่วๆ ไป คือปลาดุกอุย (Clarias macro-
cephalus) และปลาดุกด้าน (Clarias batrachus) ในอดีตมีการเพาะเลี้ยงทั้งปลาดุกอุยและ
ปลาดุกด้านกันอย่างแพร่หลาย ต่อมาได้มีการน�าปลาดุก African sharp tooth catfish (Clarias
gariepinus) เข้ามาเลี้ยง เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เจริญเติบโตรวดเร็ว สามารถ กินอาหารได้
แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคสูงและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี แต่ปลาดุกชนิดนี้มี
เนื้อเหลวและมีสีซีดขาวไม่น่ารับประทานซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ สถาบันวิจัยการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าจืดได้เพาะขยายพันธุ์ปลาโดยผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียกับปลา
ดุกเทศเพศผู้ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ดี มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานโรค มีลักษณะ
ใกล้เคียงกับปลาดุกอุย คู่ผสมนี้ทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ หรือ บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ
ชาวบ้านเรียกกันว่า ปลาดุกบิ๊กอุย
ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงปลาดุกอยู่ในอันดับที่สาม คิดเป็นประมาณร้อยละเก้าของ
ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในประเทศไทย พื้นที่การเพาะเลี้ยง จ�านวนผู้เลี้ยงและผลผลิต
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีพื้นที่เพาะเลี้ยงกว่าหนึ่งแสนไร่และมีผู้เลี้ยงกว่าเก้าหมื่นราย ส่วนใหญ่
เป็นการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน ซึ่งในระยะหลังมีการดัดแปลงใช้แผ่นพลาสติกปูก้นบ่อ และมีการ
เลี้ยงในบ่อซีเมนต์
ปลาดุกเป็นสัตว์น�้าอีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันในเกือบทุกประเทศสมาชิกอาเซียน ยกเว้น
สปป.ลาว และบรูไน ในภูมิภาคอาเซียนอินโดนีเซียมีผลผลิตปลาดุกจากการเพาะเลี้ยงมากที่สุด
337.577 พันตัน อันดับที่สอง คือ ไทย ผลผลิต 95.375 พันตัน ไม่ถึงหนึ่งในสามของอินโดนีเซีย
อันดับที่สาม คือ มาเลเซียด้วยผลผลิต 46.778 พันตัน ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เลี้ยงได้ในประเทศไทย
เวียดนามอยู่ในอันดับที่สี่มีผลผลิตปลาดุก 20.000 พันตันเป็นครึ่งหนึ่งของมาเลเซีย ที่มีผลผลิต
ในหลักพันตัน ได้แก่ สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ และ กัมพูชา มีผลผลิต 7.582, 3.129 และ 1.950
พันตัน ตามล�าดับ สิงคโปร์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีการเพาะเลี้ยงปลาดุกแต่มีผลผลิตเพียง 22 ตัน
(ตารางที่ 6.3)
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 67 I