Page 71 -
P. 71
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่
6 การเพาะเลี้ยง
สัตว์น�้าในน�้าจืดของประเทศไทย
การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในน�้าจืดของประเทศไทยหกชนิดได้แก่ ปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน
กุ้งก้ามกราม ปลาสลิด และปลาสวาย ตามล�าดับ ปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง เริ่มจาก
สถานภาพการเพาะเลี้ยง เปรียบเทียบการเพาะเลี้ยงของไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ต้นทุน
รายได้จากการเพาะเลี้ยง ปัญหาของการเพาะเลี้ยงในประเทศไทย และความเห็นของเกษตรกร
ในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
6.1 การเพาะเลี้ยงปลานิล
ปลานิล (Oreochromis niloticus) เป็นสัตว์น�้าที่ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศจีน
ให้ความส�าคัญพัฒนาการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ ติดต่อกันมานานกว่าสิบปี มีการพัฒนาผลผลิต
จนผลผลิตจากภูมิภาคนี้มีอยู่มากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตรวมทั่วโลก ในประเทศไทยจากการ
พัฒนาของภาครัฐและเอกชน มีสายพันธุ์ที่พัฒนาหลากหลาย ได้แก่ ปลานิล สายพันธุ์จิตรลดา
ปรับปรุงเป็น จิตรลดา 1 - 3 สายพันธุ์ CP ที่พัฒนาโดยเครือเจริญโภคภัณฑ์ และยังมี สายพันธุ์
นิลแดง และ นิลแดงทับทิม ที่พัฒนาเพื่อแก้ปัญหาสีตัวปลาที่ออกสีคล�้าด�า ตลอดจนพัฒนาการ
เลี้ยงโดยใช้ฮอร์โมนแปลงเพศปลานิลให้เป็นเพศผู้ซึ่งเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลเพศเมีย สามารถ
ควบคุมจ�านวนที่เลี้ยงในบ่อได้ สะดวกในการจับปลาขาย กรมประมงให้ความสนใจในการพัฒนา
ปลานิลเพื่อการส่งออก มีการรวบรวมองค์ความรู้จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์ปลานิล
ซึ่งมีอยูประมาณห้าสิบราย พัฒนาความรู้ของเกษตรกรในเรื่อง Good Aquaculture Practice
(GAP) เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สามารถส่งออกได้ และจัดกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคปลานิลในประเทศ
ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในผู้น�าการเพาะเลี้ยงปลานิล ร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ
พัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิลจนสามารถเป็นหนึ่งในผู้น�าการส่งออกปลาชนิดนี้ในตลาดโลก
เริ่มจากการพัฒนาสายพันธุ์ในปี 2531 ร่วมมือกับ International Living Aquatic Resources
Management (ICLARM) พัฒนาสายพันธุ์และวิธีเพาะเลี้ยงให้เป็นการเพาะเลี้ยงที่ยั่งยืนและมี
ต้นทุนต�่า ทั้งนี้ได้รับความสนับสนุนจาก Asian Development Bank, United Nation Development
62 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน