Page 100 -
P. 100
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การเพาะเลี้ยงในน�้ากร่อย
• กุ้งขาว ประเทศไทยเป็นผู้น�าในการเพาะเลี้ยงแต่มีข้อจ�ากัดด้านพื้นที่
• ปลากะพงขาว มีการขยายตัวส�าหรับการเพาะเลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อยไปมากแล้ว
การเพิ่มผลผลิตอาจเป็นการลงทุนเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังน�้าลึกดังที่กรมประมง
พยายามพัฒนาแต่ควรมีการศึกษาโอกาสทางการตลาดให้ชัดเจน ข้อควรระวังคือ
ผลผลิตที่ได้ไม่ควรส่งผลกระทบในทางลบต่อราคาปลากะพงขาวที่เกษตรกรรายย่อย
ขายได้อยู่ในปัจจุบัน
• ปลากะรัง การพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลากะรังเป็นสิ่งที่รัฐต้องด�าเนินการพัฒนาไม่ให้
ล้าหลังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ โดยให้ความส�าคัญแก่การเพาะพันธุ์และการลด
ต้นทุนค่าอาหาร รวมทั้งการใช้อาหารเม็ดเพื่อลดผลกระทบสภาวะแวดล้อมสัตว์น�้า
ชนิดนี้มีราคาสูงสามารถท�ารายได้ดีให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
การเพาะเลี้ยงในทะเล
• หอยแครง หอยแมลงภู่ และหอยนางรม มีโอกาสน้อยในการเพิ่มผลผลิต นอกเสียจาก
จะต้องแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่เลี้ยง หาพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาการ
เพาะเลี้ยงให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่อไป ซึ่งน่าจะเป็นพื้นที่ไกลจากชายฝั่งทะเลออกไป
มากกว่าที่เพาะเลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน
การเพาะเลี้ยงในน�้าจืด
ในส่วนของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าจืด โดยทั่วไปยังท�าโดยเกษตรกรรายย่อยและกระจัดกระจาย
การขายผลผลิตยังต้องอาศัยผู้รวบรวมในท้องที่ ปัจจุบันมีตลาดสัตว์น�้าจืดที่ส�าคัญอยู่ในภาคกลาง
เช่น ที่อ่างทอง ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา และนครปฐม ควรมีการศึกษาโซ่อุปทานสัตว์น�้าจืด
เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงต่อไป อีกทั้งควรมีการรวบรวมข้อมูลจ�านวนและพื้นที่การเพาะเลี้ยงให้
ถูกต้องทันเหตุการณ์เพื่อใช้ประกอบการก�าหนดนโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าจืด ทั้งนี้ในระหว่าง
การศึกษาครั้งนี้พบว่า กรมประมงก�าลังด�าเนินการส�ารวจเพื่อรวบรวมจ�านวนและที่ตั้งของฟาร์ม
โดยการใช้ Geographical Positioning System (GPS) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการขึ้นทะเบียน
ฟาร์มตลอดจนการจัดการด้านพื้นที่เลี้ยงและการจัดการน�้าเพื่อป้องกัน และบรรเทาความเสียหาย
ที่เกิดจากอุทกภัย
สัตว์น�้าจืดที่ควรได้รับการพัฒนาตามล�าดับมีดังนี้
• ปลานิล พัฒนาให้เลี้ยงปลานิลได้ขนาดใหญ่พอที่จะใช้แล่เนื้อท�าฟิลเลต์เพื่อส่งออกไป
ตลาดปลายทางในภูมิภาคอื่นได้ ซึ่งก็ยังต้องแข่งขันกับประเทศที่ครองตลาดอยู่ใน
ปัจจุบันโดยเฉพาะจีน ส่วนที่ขายเป็นปลาสดทั้งตัวเป็นที่นิยมของตลาดในประเทศ และ
มีช่องทางส่งออกไป สปป.ลาว
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 91 I