Page 102 -
P. 102

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




              7.2  โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าแต่ละชนิด

                   ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงแนวทางการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าแต่ละชนิดตามล�าดับ
              ศักยภาพที่มีอยู่ เริ่มจากกุ้งขาว ตามมาด้วย ปลานิล ปลาดุก ปลาตะเพียน กุ้งก้ามกราม ปลากะพงขาว
              ปลากะรัง ปลาสวาย ปลาสลิด หอยแครง หอยแมลงภู่ และ หอยนางรม
                   7.2.1  โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว
                   ในจ�านวนผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของไทย ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวมี
              อยู่ถึงครึ่งหนึ่งของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าโดยรวม แต่การเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง

              กุ้งของประเทศไทยในอนาคตเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีการขยายการผลิตมาใกล้ถึงระดับเต็ม
              ศักยภาพ คาดกันว่าผลผลิตกุ้งขาวที่ประเทศไทยสามารถเพาะเลี้ยงได้จะเป็นประมาณหกแสนตัน
              ต่อปี แม้ประเทศไทยจะเป็นผู้น�าในการเพาะเลี้ยงกุ้ง มีเทคโนโลยีดีกว่าประเทศสมาชิกอาเซียน
              อื่นๆ สามารถส่งออกและครองตลาดในหลายประเทศปลายทางทั่วโลก แต่การเพาะเลี้ยงกุ้งของ
              ไทยก็ได้พัฒนามาถึงขีดจ�ากัดโดยที่ได้ขยายพื้นที่เลี้ยงอย่างเต็มที่ ยากจะหาพื้นที่เพาะเลี้ยงเพิ่ม
              เติมเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ ทั้งในการเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่เพาะเลี้ยงก็ได้มีความพยายามอย่างเต็ม
              ที่ด้วยการเพิ่มรอบการผลิต การเลี้ยงที่ค่อนข้างหนาแน่น และการเพิ่มปัจจัยการผลิตอื่นๆ เช่น
              เร่งการให้อาหาร มีปัญหาความจ�ากัดของความสามารถในการรองรับของสภาวะแวดล้อมการเพิ่ม
              ผลผลิตที่ไม่เหมาะสมอาจน�าไปสู่ปัญหาโรคกุ้งได้ ในบางปีที่มีปัญหาโรคกุ้งหรือภัยธรรมชาติ

              ผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงจะลดลง
                   ปัจจุบันผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงของไทยส่วนใหญ่เป็นกุ้งขาว ผลผลิตกุ้งขาวของไทย
              ยังสูงเป็นกว่าเท่าตัวของผลผลิตกุ้งขาวของประเทศผู้ผลิตอันดับรองลงไปในกลุ่มอาเซียนซึ่งก็คือ
              อินโดนีเซีย เมื่อเปรียบเทียบกับอินโดนีเซีย พบว่าอินโดนีเซียยังมีพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าที่สามารถ
              ขยายการเพาะเลี้ยงกุ้งได้อีกมาก การเลี้ยงกุ้งในอินโดนีเซียประสบปัญหาโรคกุ้งคล้ายกันกับ
              ประเทศไทย และในการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวอินโดนีเซียยังมีข้อจ�ากัดอยู่บ้างในเรื่องของพันธุ์กุ้งนอก
              ไปจากข้อจ�ากัดด้านทักษะของเกษตรกรตลอดจนระบบโลจิสติคส์ในอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม
              รัฐบาลอินโดนีเซียส่งเสริมการเพาะเลี้ยงกุ้งและมีผู้ประกอบการเครือเจริญโภคภัณฑ์จาก
              ประเทศไทยที่เข้าไปร่วมมือพัฒนาการเลี้ยงกุ้งในอินโดนีเซียอยู่ในปัจจุบัน เป็นไปได้ว่าอินโดนีเซีย

              ซึ่งยังมีพื้นที่เพาะเลี้ยงอีกมากจะสามารถพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตกุ้งได้มากขึ้น
                   เวียดนามเป็นประเทศที่มีผลผลิตกุ้งขาวอยู่ในอันดับที่สามของอาเซียน ในการค้ากุ้งขาว
              ในระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนตลาดส่งออกกุ้งขาวที่มีศักยภาพของไทยคือ เวียดนาม
              ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในประเทศไทยส่งออกกุ้งขาวจากประเทศไทยไปเวียดนามซึ่งคาดว่า
              เวียดนามน�าเข้าเพื่อส่งออกไปประเทศจีน อย่างไรก็ตามในตลาดปลายทางนอกภูมิภาคอาเซียน
              หลายแห่ง เวียดนาม ซึ่งมีผลผลิตกุ้งขาวประมาณหนึ่งในสามของไทยแม้จะประสบปัญหาโรคกุ้ง
              ก็ได้พัฒนาการส่งออกกุ้งขึ้นมาใกล้เคียงกับไทยมากขึ้น ส�าหรับกุ้งขาวเวียดนามเป็นทั้งคู่ค้าและ

              คู่แข่งที่ส�าคัญของไทย





                          สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 93 I
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107