Page 103 -
P. 103

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                  เพื่อรักษาความเป็นผู้น�าในสินค้าชนิดนี้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งขาวและผู้ประกอบการ
            ธุรกิจกุ้งของไทยควรร่วมมือกันรักษาคุณภาพผลผลิตเพื่อขยายตลาดกุ้งคุณภาพ ตลอดจนให้ความ
            สนใจในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกจากการแปรรูป ทั้งในตลาดนอกภูมิภาคอาเซียนดังที่ได้ร่วมมือ
            กับผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นพัฒนาสินค้ากุ้งมูลค่าเพิ่มมาแล้ว และในตลาดอาเซียนก็ยังมีโอกาส
            ที่จะพัฒนาสินค้ากุ้งมูลค่าเพิ่มในลักษณะพร้อมปรุงดังที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้พัฒนาวางขาย
            ตามซูเปอร์มาร์เกตในประเทศไทยโดยเฉพาะตามร้านค้า ซีพีเฟรชมาร์ท การค้าสินค้าสัตว์น�้า
            ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่ผ่านมายังมีไม่มาก ประเทศสมาชิกอาเซียนมักจะเป็นผู้เพาะ
            เลี้ยงกุ้งเพื่อส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ มากกว่าที่จะค้าขายในตลาดอาเซียนด้วยกัน เมื่อเป็น
            ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประเทศไทยควรให้ความสนใจแก่ตลาดในภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้น
            ทั้งในฐานะตลาดส่งออกสินค้ากุ้งขาวที่มีคุณภาพและในฐานะฐานการผลิตเพื่อร่วมมือกับประเทศ
            สมาชิกอาเซียนอื่นๆ พัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งขยายการส่งออกไปยังภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป
                  การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นช่องทางหนึ่งที่จะลดความจ�ากัดเรื่องพื้นที่การเพาะ
            เลี้ยงกุ้งในประเทศไทยลงด้วยการร่วมมือออกไปลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นที่ยังมีพื้นที่
            เพาะเลี้ยงอุดมสมบูรณ์ และสนใจจะรับเทคโนโลยีจากประเทศไทยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งใน
            ประเทศของตน โอกาสมีอยู่ทั้งในอินโดนีเซีย สหภาพพม่า ตลอดจนเวียดนาม ผู้ประกอบการบาง
            รายมีการเดินทางไปดูช่องทางการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนเหล่านี้ การสนับสนุนจากรัฐ
            ในการเข้าไปดูพื้นที่และเจรจาความเป็นไปได้จะช่วยเพิ่มโอกาสการลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งในประเทศ
            สมาชิกอาเซียน ขยายฐานการผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยง ลดความจ�ากัดเรื่องพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งใน
            ประเทศลง

                  อนึ่งในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการเพาะเลี้ยงกุ้งกรมประมง
            โดยกองประมงต่างประเทศเป็นแกนน�าในการระดมความร่วมมือผ่าน ASEAN Shrimp Association
            อยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาจะให้ความส�าคัญแก่ความร่วมมือในการป้องกันโรคกุ้ง ยังมีโอกาสในการ
            ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มผลผลิต ประเทศที่ประเทศไทยน่าจะ
            สนใจเข้าไปลงทุนเพาะเลี้ยงกุ้งมากที่สุดน่าจะได้แก่สหภาพพม่า ทั้งนี้น่าสังเกตว่าการรวมกลุ่ม
            ของผู้ประกอบธุรกิจกุ้งมีความเข้มแข็ง สมาชิกได้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและ
            ติดตามสถานการณ์กุ้ง ทั้งในระดับผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ และแม้ในระดับผู้เลี้ยงกุ้งขนาดเล็ก
            ลงมาก็มีการรวมตัวกันในรูปแบบของกลุ่มสหกรณ์ที่ท�างานอย่างได้ผล ผู้ประกอบการให้ข้อคิด
            เห็นว่าที่สามารถท�าได้เพราะสินค้ากุ้งเป็นสินค้าที่ขายได้ราคาดี มีความคุ้มค่าที่ผู้ประกอบการจะ
            สละเวลามาร่วมมือกัน ในส่วนของกลุ่มสหกรณ์ปัจจัยหนึ่งของความส�าเร็จคือ การมีผู้น�ากลุ่ม
            ที่มีความสามารถเชิงธุรกิจเมื่อรวมตัวกันได้ ขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นเอื้ออ�านวยต่อการร่วมกัน
            พัฒนาขยายธุรกิจ เกษตรกรสามารถท�ารายได้เพิ่มขึ้น เป็นรูปแบบที่อาจน�าไปพัฒนาส�าหรับ
            การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิดอื่นๆ ต่อไป
                  ที่ผ่านมาทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสนใจพัฒนาจนประเทศไทยก้าวเข้ามาเป็นผู้น�าใน
            การเพาะเลี้ยงกุ้ง ปัจจุบันเริ่มมีข้อจ�ากัดโดยเฉพาะด้านพื้นที่เพาะเลี้ยง ซึ่งควรขยายฐานการผลิต
            ไปยังประเทศใกล้เคียง ภาครัฐควรให้ความสนใจในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิดอื่นๆ
            นอกจากกุ้งมากขึ้น



            94    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108