Page 108 -
P. 108
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อย่างไรก็ตามในบางประเทศสมาชิกอาเซียนส�าหรับการเลี้ยงปลาทะเลในกระชังหลังจาก
ที่เพาะพันธุ์ปลากะรังได้เกษตรกรนิยมเลี้ยงปลากะรังมากขึ้น และลดการเลี้ยงปลากะพงขาวลง
เนื่องจากขายปลากะรังได้ราคาดีกว่าปลากะพงขาว เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากะพงขาวบางราย
ในภาคใต้ของไทยเลี้ยงทั้งปลากะพงขาวและปลากะรังควบคู่กันไปเนื่องจากลูกพันธุ์ปลากะรัง
ที่หาได้ยังมีจ�ากัด คาดว่าหากสามารถเพาะพันธุ์ปลากะรังและพัฒนาการเพาะฟักเชิงพาณิชย์ได้
เกษตรกรไทยที่สามารถหาซื้อลูกพันธุ์ปลากะรังได้น่าจะนิยมเลี้ยงปลากะรังมากกว่าปลากะพงขาว
เช่นกัน
การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในประเทศไทยท�ากันมานานแล้ว โดยเริ่มจากที่ประเทศไทย
สามารถเพาะพันธุ์ปลากะพงขาวได้และเป็นต้นแบบในการเพาะฟักและเพาะเลี้ยงให้ประเทศอื่นๆ
ในภูมิภาค เริ่มจากการเลี้ยงในกระชังและปัจจุบันมีการเลี้ยงในบ่อซึ่งพบมากในภาคตะวันออก
มีผลผลิตปลากะพงขาวจากภาคตะวันออกส่งขายมาถึงพื้นที่ภาคใต้ด้วย ซึ่งเกษตรกรภาคใต้ตั้ง
ข้อสังเกตว่าท�าให้ราคาปลากะพงขาวที่ขายได้ในพื้นที่ลดลง การเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อมักจะ
เลี้ยงปลาขนาดตัวไม่ใหญ่มากและขายเพื่อบริโภคทั้งตัวเป็นปลาจานดังที่ใช้ปรุงอาหารตามร้าน
อาหารทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังที่เลี้ยงให้ได้ปลาขนาดตัวใหญ่เพื่อ
ขายให้ผู้ค้าแล่เนื้อปลาขายอีกส่วนหนึ่ง
ผู้เลี้ยงปลากะพงขาวส่วนใหญ่ยังเป็นผู้เลี้ยงรายย่อยและมักจะไม่มีการรวมกลุ่ม แต่ก็มี
ประเทศเพื่อนบ้านที่สนใจเข้ามาติดต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากะพงขาวในประเทศไทยให้ไป
เพาะเลี้ยงในประเทศของตน มาเลเซียเป็นประเทศที่สนใจขยายการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวโดย
มีพื้นที่เพาะเลี้ยงแต่ยังขาดแคลนแรงงาน
อนึ่งปัจจุบันกรมประมงก�าลังพัฒนาการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังน�้าลึกโดยใช้
เทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งอาจช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น�้าชนิดนี้เพื่อการส่งออกทั้งในและ
นอกภูมิภาคอาเซียน แต่การเพาะเลี้ยงในรูปแบบนี้ต้องลงทุนสูง ขนาดธุรกิจต้องมีขนาดใหญ่
พอคุ้มทุน
ผลผลิตปลากะพงขาวจากการเพาะเลี้ยงใช้บริโภคในประเทศเป็นส�าคัญ การส่งออกยังมี
น้อยโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนเนื่องจากมีการเลี้ยงปลาชนิดนี้กันโดยทั่วไปจึงเป็นข้อจ�ากัดใน
การส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงแม้ว่าประเทศไทยยังมีมูลค่าต่อหน่วยผลผลิตที่ต�่ากว่าเพื่อน
บ้าน อนึ่งสิงคโปร์ซึ่งน่าจะเป็นตลาดที่ไทยสามารถส่งออกปลากะพงขาวได้ก็มีการพัฒนาการเพาะ
เลี้ยงสัตว์น�้าชนิดนี้โดยมีการลงทุนเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ร่วมกับผู้ลงทุนจากนอกภูมิภาค
คาดว่าโอกาสการส่งออกปลากะพงขาวมีจ�ากัด การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิดนี้
อาจยังมีโอกาสในการขยายตลาดปลาแล่เนื้อหากสามารถเลี้ยงให้ได้ขนาดตัวปลาใหญ่พอ ซึ่งได้
มาจากการเลี้ยงในกระชังเป็นส�าคัญและอาจจะได้จากการเลี้ยงในกระชังน�้าลึกที่กรมประมงอยู่
ในระหว่างเริ่มการพัฒนา
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 99 I