Page 112 -
P. 112
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7.2.10 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยแครง
ผลผลิตหอยแครงมีปริมาณสูงเป็นอันดับที่ห้าของผลผลิตสัตว์น�้าจากการเพาะเลี้ยงใน
ประเทศไทยแต่ส่วนแบ่งผลผลิตมีไม่ถึงร้อยละห้า ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตลูกพันธุ์
หอยแครงในประเทศได้มากขึ้น มีการท�าแปลงเพาะพันธุ์หอยแครง แต่ก็ยังมีการน�าเข้าลูกพันธุ์
หอยแครงจากมาเลเซีย ผลผลิตหอยแครงที่เพาะเลี้ยงได้ยังน้อยกว่าผลผลิตหอยแมลงภู่โดย
มีผลผลิตหอยแครงเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของหอยแมลงภู่ มีการเลี้ยงหอยแครงทั้งในภาคใต้
ภาคกลาง และภาคตะวันออก แต่พื้นที่เลี้ยงหลักในจังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งมีผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด
ประสบปัญหาน�้าท่วมติดต่อกันมาในระยะหลัง มีน�้าจืดลงทะเลมาก ท�าความเสียหายให้แก่แปลง
เลี้ยงหอยแครง ผลผลิตลดลง
ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนมีเพียงสามประเทศที่มีรายงานการเพาะเลี้ยงหอยแครง
ได้แก่มาเลเซียซึ่งมีผลผลิตมากที่สุด ตามมาด้วยประเทศไทยซึ่งมีผลผลิตเป็นรองมาเลเซียไม่มาก
ปัจจุบันพื้นที่เลี้ยงหอยแครงในมาเลเซียเริ่มมีปัญหาความเสื่อมโทรมที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่
ชายฝั่งท�าให้ผลผลิตลดลง เป็นปัญหาคล้ายกับในประเทศไทย อีกประเทศหนึ่ง ในอาเซียนที่มี
รายงานการเพาะเลี้ยงหอยแครงคือ กัมพูชายังมีผลผลิตน้อยมาก นอกจากนี้ในเวียดนาม รัฐบาล
เวียดนามมีนโยบายส่งเสริมการเพาะเลี้ยงบริเวณชายฝั่งซึ่งจะเป็นการเพาะเลี้ยงหอยแครงและ
หอยตลับ แต่ไม่มีรายงานสถิติผลผลิตหอยแครงแยกออกมาเนื่องจากแจ้งรวมไว้ในผลผลิต
หอยทะเลที่ไม่ได้จ�าแนก เวียดนามตั้งเป้าหมายในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยทะเลไว้ว่า
ประมาณครึ่งหนึ่งของผลผลิตที่ได้จะมาจากการเพาะเลี้ยงหอยแครง
ในภูมิภาคอาเซียนมีรายงานการส่งออกหอยแครงจากประเทศไทยไปเวียดนาม มาเลเซีย
และ สปป.ลาว โดยมีเวียดนามเป็นประเทศผู้น�าเข้าหลัก อย่างไรก็ตามปริมาณที่ส่งออกจาก
ประเทศไทยไปประเทศสมาชิกอาเซียนยังน้อยมาก และเวียดนามเองก็มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยง
หอยแครงดังกล่าวมาแล้ว คาดว่าหอยแครงที่เวียดนามน�าเข้าอาจเป็นลูกพันธุ์หอยแครงทั้งจาก
ประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง พบว่ามีการส่งออกหอยแครงจากประเทศไทยไปภูมิภาคอื่นๆ
นอกอาเซียน ได้แก่ ญี่ปุ่นและจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และประเทศไทยยังสามารถขยายการ
ส่งออกหอยแครงไปได้หากมีผลผลิตมากพอ และยังมีที่ส่งออกหอยแครง ไปสหรัฐอเมริกาแต่
แนวโน้มปริมาณการส่งออกลดลง
หากมีพื้นที่เลี้ยงหอยแครงที่เหมาะสมคาดว่าประเทศไทยยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้ ปัจจุบัน
ผลผลิตลดลงเนื่องจากปัญหาพื้นที่เลี้ยงหอยแครงที่มีอยู่จ�ากัดและเสื่อมโทรมลง ส่วนหนึ่งอยู่
ตามชายฝั่งที่มีปัญหาน�้าจืด เนื่องจากการระบายน�้าจากพื้นที่ชายฝั่งลงทะเล และยังมีปัญหาน�้าจืด
ที่เนื่องมาจากน�้าท่วมในพื้นที่ ในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยแครงควรพิจารณาหาพื้นที่
เพาะเลี้ยงที่เหมาะสม ซึ่งอาจต้องอยู่ไกลจากชายฝั่งออกไปมากกว่าที่เป็นอยู่เพื่อลดผลกระทบ
ทางลบจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล โอกาสทางการตลาดของหอยแครงมีช่องทางมากกว่า
หอยแมลงภู่ ทั้งปัจจุบันผู้ผลิตที่จะเป็นคู่แข่งขันทางการค้ายังมีไม่มาก การพัฒนาการเพาะเลี้ยง
หอยแครงควรเร่งท�าในช่วงที่ผลผลิตของมาเลเซียชะลอตัวลงและก่อนที่เวียดนามจะสามารถ
พัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยแครงได้ส�าเร็จ
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 103 I