Page 115 -
P. 115
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1) ปัจจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า ที่ส�าคัญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า ได้แก่ พื้นที่ พันธุ์
อาหารสัตว์น�้า และเงินทุนในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
• พื้นที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า ส�าหรับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวยากที่จะเพิ่มพื้นที่เพาะเลี้ยง
และผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ได้ ควรให้ความสนใจแก่การขยายฐานการผลิตไปยัง
ประเทศใกล้เคียง ส�าหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าอื่นๆ มีข้อจ�ากัดทั้งพื้นที่บนบก
ที่ต้องใช้ในการขุดบ่อและพื้นที่ในน�้าที่ต้องใช้วางกระชัง ควรให้ความส�าคัญแก่การ
เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ รวมทั้งให้ความส�าคัญแก่การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าที่มี
คุณภาพขายได้ราคาสูงเพื่อใช้ประโยชน์พื้นที่ที่มีอยู่จ�ากัดให้คุ้มค่า และควรพิจารณา
หาพื้นที่เลี้ยงที่เหมาะสมส�าหรับการเพาะเลี้ยงหอยในทะเล
• ลูกพันธุ์สัตว์น�้า รัฐควรด�าเนินงานวิจัยเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีควบคู่ไปกับ
การด�าเนินการของเอกชน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังที่เคยเกิดขึ้นกับกุ้ง ทั้งนี้รัฐควร
ให้ความส�าคัญแก่การเพาะพันธุ์สัตว์น�้าอื่นๆ นอกจากกุ้งขาว พัฒนาการเพาะ
ฟักสัตว์น�้าอื่นๆ ให้ได้สายพันธุ์ที่แข็งแรง มีความต้านทานโรค และเจริญเติบโต
ได้ดี และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะฟักให้แก่เกษตรกรพร้อมทั้งติดตามดูแล
ให้ค�าแนะน�าเพื่อให้เกษตรกรสามารถขยายการเพาะฟักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ควรให้ความส�าคัญแก่การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะฟักให้แก่เกษตรกร
รายย่อยผ่านผู้น�ากลุ่มเกษตรกร
• อาหารสัตว์น�้า เป็นต้นทุนส�าคัญของการเพาะเลี้ยง การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
มีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกษตรกรต้องใช้อาหารส�าเร็จรูปมากขึ้นทั้งเพื่อสุขลักษณะ
และโภชนาการ แต่ราคาอาหารสัตว์น�้าเพิ่มขึ้นรวดเร็วท�าให้ต้นทุนการเพาะเลี้ยง
สัตว์น�้าสูงขึ้น ควรมีการศึกษาวิจัยโครงสร้างการผลิต ราคา ระบบธุรกิจ และตลาด
อาหารสัตว์น�้า เพื่อประกอบการวางแผนลดต้นทุนส่วนนี้และก�าหนดโครงสร้าง
ราคาที่เป็นธรรม หาช่องทางลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในส่วนนี้การรวม
กลุ่มเกษตรกรจะช่วยเพิ่มอ�านาจการต่อรองราคา ลดต้นทุนค่าอาหารลงได้อีกทางหนึ่ง
• เงินทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า การรวมกลุ่มเกษตรกรโดยมีกิจกรรมการออมทรัพย์
ควบคู่ไปกับกิจกรรมการผลิตและการตลาดสามารถลดข้อจ�ากัดด้านเงินทุนลง
ได้ในส่วนหนึ่ง กลุ่มเกษตรกรยังมีโอกาสขอความสนับสนุนในด้านสินเชื่อและ
การเงินเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า หน่วยงานของรัฐควรให้ข้อมูล
แนะน�าการเข้าถึงแหล่งเงินทุนตลอดจนช่องทางการใช้กลุ่มค�้าประกันการกู้
2) การจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า แนวทางที่จะช่วยให้การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
ให้ประสบความส�าเร็จได้มีสามปัจจัยหลัก คือ ก) การมีลูกพันธุ์ที่ดี ข) ต้นทุนค่าอาหารสัตว์น�้าต้อง
ไม่สูงเกินไป และ ค) เกษตรกรต้องมีการจัดการการเพาะเลี้ยงที่ดี ซึ่งจะสามารถเพิ่มผลผลิตอย่าง
ยั่งยืนและเพิ่มมูลค่าของผลผลิตได้ รัฐโดยกรมประมงสามารถให้ข่าวสารข้อมูลแนวทางการจัดการ
เพาะเลี้ยงที่ดีได้ดังที่ท�ามาแล้วในกรณีของการเพาะเลี้ยงกุ้ง และควรปฏิบัติเช่นเดียวกันส�าหรับ
การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิดอื่นๆ
106 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน