Page 113 -
P. 113

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                  7.2.11   โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่
                  สัตว์น�้าที่ประเทศไทยมีผลผลิตสูงเป็นอันดับที่สี่คือหอยแมลงภู่ (รองลงมาจากกุ้งขาว ปลา

            นิลและปลาดุก) แต่มีส่วนแบ่งผลผลิตไม่ถึงร้อยละสิบ นับเป็นสัตว์น�้าที่มีความส�าคัญเชิงเศรษฐกิจ
            อีกชนิดหนึ่งแต่ผลผลิตลดลงนับแต่ปี 2552
                  ผลผลิตหอยแมลงภู่ที่เลี้ยงได้ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังใช้บริโภคในประเทศซึ่งปัจจุบัน
            เกษตรกรให้ความเห็นว่ายังผลิตได้ไม่พอกับความต้องการของตลาด การเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่
            ในประเทศไทยมีปัญหาผลผลิตลดลงเนื่องจากพื้นที่เพาะเลี้ยงอยู่ใกล้ชายฝั่งได้รับผลกระทบจาก
            น�้าจืดที่ปล่อยลงสู่ทะเลท�าให้เลี้ยงได้ผลน้อยลงเช่นเดียวกับการเพาะเลี้ยงหอยแครง บางปีก็เกิด
            ผลผลิตเสียหาย เป็นประเด็นที่เกษตรกรมีการรวมกลุ่มเรียกร้องขอค่าชดเชยจากรัฐอยู่เนืองๆ
                  ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันประเทศไทยมีผลผลิตหอยแมลงภู่มากที่สุด มากกว่า

            ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นผู้ผลิตอันดับที่สองถึงสี่เท่า อีกสามประเทศสมาชิกอาเซียนที่เลี้ยงหอยแมลงภู่ คือ
            มาเลเซีย กัมพูชา และสิงคโปร์ ก็มีผลผลิตหอยแมลงภู่น้อยมากในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
            ไทยส่งหอยแมลงภู่ไปเวียดนามมากที่สุดแต่ปริมาณที่ส่งไปมีแนวโน้มลดลง และมีการส่งออกไป
            มาเลเซียมากขึ้นอย่างไรก็ตามปริมาณส่งออกเหล่านี้ยังมีไม่มาก
                  ส�าหรับการส่งออกหอยแมลงภู่จากประเทศสมาชิกอาเซียนไปตลาดปลายทางหลักใน
            ภูมิภาคอื่นๆ ก็มีเพียงการส่งออกไปญี่ปุ่นและจีน ซึ่งผู้ส่งออกจากภูมิภาคอาเซียน คือ ไทย เวียดนาม

            มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แนวโน้มปริมาณส่งออกลดลง
                  อนึ่งในปัจจุบันมีการน�าเข้าหอยแมลงภู่จากภูมิภาคอื่นนอกอาเซียนมากขึ้น แต่ยังมีราคา
            สูงและไม่จัดเป็นสินค้าในระดับเดียวกับหอยแมลงภู่ที่เลี้ยงได้ในประเทศ เช่น ที่น�าเข้าจาก
            นิวซีแลนด์ และ ฝรั่งเศส ซึ่งมีขายในซูเปอร์มาร์เกต ภัตตาคาร และห้องอาหารของโรงแรมชั้นน�า
                  แม้ไทยจะเป็นผู้น�าการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน แต่โอกาส
            การเพิ่มผลผลิตและขยายช่องทางการค้ามีอยู่จ�ากัด ปริมาณผลผลิตมีแนวโน้มลดลง เช่นเดียวกับ
            การส่งออก แต่ยังมีโอกาสในการน�าหอยแมลงภู่มาแปรรูปท�ามูลค่าเพิ่ม เช่น ตากแห้ง ดองเค็ม
            และที่ผ่านมาเคยใช้บรรจุกระป๋องในลักษณะ Seafood cocktail รวมกับสัตว์น�้าชนิดอื่นๆ ใน

            ต่างประเทศก็มีการท�าหอยแมลงภู่แช่ในน�้าเกลือ (In brine) บรรจุกระป๋อง แต่หอยแมลงภู่ที่ได้
            จากการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยมีข้อจ�ากัดที่ตัวหอยมีขนาดเล็กลงและปริมาณผลผลิตยังลดลง
            การพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ควรค�านึงถึงการหาพื้นที่เลี้ยงให้เหมาะสมและพัฒนาวิธีการ
            เพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
                  7.2.12   โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงหอยนางรม

                  หอยนางรมเป็นสัตว์น�้าที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในเป็นอันดับที่สิบเอ็ดของประเทศไทย
            เช่นเดียวกับกรณีหอยแมลงภู่และหอยแครง ผลผลิตหอยนางรมมีแนวโน้มลดลงทั้งชนิด
            หอยตะโกรมและหอยปากจีบ เนื่องจากความเสื่อมโทรมของพื้นที่เพาะเลี้ยงซึ่งได้รับผลกระทบ
            ในทางลบจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง ผลผลิตที่ได้ใช้บริโภคในประเทศเป็นส�าคัญ





            104   >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118