Page 117 -
P. 117
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สนับสนุนการจัดหาปัจจัยการผลิตทั้งลูกพันธุ์และอาหารสัตว์น�้า ทั้งยังมีกลุ่มที่ริเริ่มโดยปราชญ์
ชาวบ้าน กรณีปลาตะเพียนมีการจัดท�าศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยได้รับความสนับสนุนจากหน่วย
งานของรัฐ รวมทั้งมีการด�าเนินงานวิสาหกิจชุมชนท�าตั้งแต่จัดหาปัจจัยการผลิต รวบรวมผลผลิต
ออกจ�าหน่าย และแปรรูปผลผลิต การรวมกลุ่มในลักษณะนี้หน่วยงานของรัฐควรเข้าไปให้
ค�าแนะน�าในการจัดท�าโครงการและการของแหล่งทุนสนับสนุนการด�าเนินงานดูแลให้เกิดความ
เป็นธรรมตามสมควร ที่ผ่านมามีการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการเพาะเลี้ยงปลาเผาะที่นครพนม
แต่ต้องเลิกไปเพราะขาดแคลนลูกพันธุ์ มีการท�าวิสาหกิจ ชุมชนแปรรูปปลาสวายที่นครสวรรค์
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในจังหวัด และกรมประมงริเริ่มส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเพาะ
เลี้ยงปลานวลจันท์ทะเลที่ประจวบคีรีขันธ์
อนึ่งเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็งควรมีการวิจัยและพัฒนาแนวทางการ
รวมกลุ่มเกษตรกร ศึกษาจากกลุ่มที่ประสบความส�าเร็จเพื่อวิเคราะห์เสนอรูปแบบที่ควรพัฒนา
และขยายผลไปยังเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
5) การตลาดและราคา เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ารายย่อยยังมีปัญหาในการต่อรอง
ราคากับผู้ค้าทั้งผู้ค้าปัจจัยการผลิตและผู้รับซื้อสัตว์น�้า พบว่าในกรณีที่เกษตรกรมีการรวมกลุ่มซึ่ง
ผู้น�าเป็นเกษตรกรที่มีทักษะประสบความส�าเร็จในการเพาะเลี้ยง เกษตรกรสามารถเลือกซื้อปัจจัย
การผลิตในราคาที่ต�่ากว่า การรวมกลุ่มจะช่วยให้เกษตรกรมีข้อมูลและมีอ�านาจการต่อรองที่ดีขึ้น
สามารถร่วมกันท�าการตลาดได้ดีกว่าการแยกกันขาย ในด้านราคาเพื่อให้เกษตรกรได้ทราบการ
เคลื่อนไหวราคาสัตว์น�้า หน่วยงานของรัฐควรมีการจัดท�าข้อมูลระดับราคา Online เผยแพร่ให้
เกษตรกรเข้าถึงได้เป็นรายวัน
ในการพัฒนาผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าควรมีการวิจัยแนวโน้มและความต้องการ
ของตลาดพร้อมทั้งช่องทางการกระจายผลผลิตตลอดจนโครงสร้างราคาเพื่อประกอบการวาง
แนวทางและแผนพัฒนาการผลิต ให้ความมั่นใจแก่เกษตรกรได้ว่าเมื่อด�าเนินการเพาะเลี้ยงแล้ว
มีตลาดรองรับสามารถมีรายได้จากการขายผลผลิต
6) บทบาทของภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจมีบทบาทส�าคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น�้า
ในประเทศทั้งในด้านการเพาะพันธุ์สัตว์น�้า อาหารสัตว์น�้า การแปรรูปเพิ่มมูลค่า และการส่งออก
ตลอดจนการวิจัยและพัฒนา ในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภาคธุรกิจมีบทบาทใน
การเข้าไปขยายฐานการผลิตในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ และร่วมมือพัฒนาผลผลิตเพื่อ
การขยายตลาดทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน
7) การค้าสินค้าสัตว์น�้าระหว่างประเทศ ในการส่งออกสินค้าสัตว์น�้าไปยังตลาดนอก
ภูมิภาคอาเซียน คู่แข่งที่ส�าคัญของประเทศไทยจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนคือ เวียดนาม
การขยายตลาดในตลาดปลายทางหลักของไทยมีโอกาสค่อนข้างจ�ากัดเนื่องจากปัจจุบันไทยเป็น
ผู้ครองตลาดซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดปลายทางสูงอยู่แล้ว หากจะขยายการส่งออกเพื่อรองรับผลผลิต
ที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า ควรมีการศึกษาความต้องการของตลาดและ
ช่องทางที่จะส่งออก เพื่อวางแผนการพัฒนาผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
108 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน