Page 114 -
P. 114

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                   ประเทศไทยมีผลผลิตหอยนางรมเป็นอันดับที่สามในกลุ่มสมาชิกอาเซียน โดยปริมาณ
              ผลผลิตยังเป็นรองอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีการส่งออกหอยนางรมจากประเทศไทยไปประเทศ
              คู่ค้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปบ้างไม่มากนักและปริมาณที่ส่งออกมีแนวโน้ม

              ลดลง ส�าหรับในกลุ่มสมาชิกอาเซียนประเทศที่ไทยส่งออกหอยนางรมไปมากที่สุดคือ สิงคโปร์แต่
              มีแนวโน้มลดลงเช่นกันกับยังมีที่ส่งออกไปกัมพูชาและมาเลเซียบ้างไม่มาก
                   พื้นที่เพาะเลี้ยงยังเป็นปัญหาหลักที่ควรได้รับการแก้ไขส�าหรับการพัฒนาการเพาะเลี้ยง
              หอยนางรม การเพาะเลี้ยงหอยทั้งสามชนิดมีผลผลิตลดลงเนื่องจากความเสื่อมโทรมของพื้นที่
              เพาะเลี้ยงซึ่งมักจะอยู่ใกล้ชายฝั่ง แม้ไทยจะเป็นประเทศที่มีผลผลิตหอยแมลงภู่มากที่สุดในกลุ่ม
              ประเทศสมาชิกอาเซียนและมีผลผลิตหอยแครงเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย แต่ผลผลิตจาก
              การเพาะเลี้ยงมีแนวโน้มลดลงทั้งสามชนิด ทั้งยังอาศัยทั้งลูกพันธุ์และอาหารจากธรรมชาติเป็น
              ส�าคัญการเพาะเลี้ยงในพื้นที่ที่เหมาะสม และการพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพอาจช่วยฟื้นฟู
              การเพาะเลี้ยงในส่วนนี้

                   แนวทางการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในประเทศไทยควรเป็นดังนี้
                   1)  เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยของสัตว์น�้าลงและเพิ่มความ
              สามารถในการแข่งขันกับผลผลิตจากประเทศอื่นๆ ทั้งยังเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เพาะเลี้ยง
              ซึ่งค่อนข้างจ�ากัดในประเทศไทยให้ได้ผลผลิตมากขึ้น

                   2)  เพาะเลี้ยงให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อขยายช่องทางการตลาดให้
              สินค้าเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศ การมีตลาดรองรับผลผลิตจะท�าให้
              เกษตรกรมีแรงจูงใจในการลงทุนเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
                   3)   ลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของไทยสามารถแข่งขันได้
              และสร้างโอกาสในการส่งออก
                   อนึ่งนอกจากสัตว์น�้าตามกรอบการศึกษา กรมประมงได้แนะน�าการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิด
              อื่นๆ ให้แก่เกษตรกร เช่น ปลานวลจันทร์ทะเล ปลาช่อนทะเล และปลาจาระเม็ดน�้าจืด โดยในแผน
              แม่บทการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าได้ก�าหนดไว้ว่าจะมีการพัฒนาสัตว์น�้าเศรษฐกิจชนิดใหม่ๆ เพิ่มขึ้น

              จากเดิม อย่างไรก็ตามในการพัฒนาการผลิตควรมีการวิเคราะห์ความต้องการของตลาด และช่องทาง
              การตลาดเพื่อสนับสนุนให้การด�าเนินการพัฒนาสามารถท�าได้อย่างยั่งยืนมีตลาดรองรับผลผลิต
              ที่เกิดขึ้น



              7.3  แนวทางการเพิ่มความสามารถของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าใน
                   ประเทศไทย

                   เพื่อให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้ในประชาคม
              เศรษฐกิจอาเซียนควรมีการด�าเนินการดังต่อไปนี้






                         สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 105 I
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119