Page 110 -
P. 110

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                   ปลาสวายเป็นผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในอันดับที่เจ็ดของประเทศไทย ปริมาณ
              ผลผลิตเป็นประมาณสองในสามของปลาตะเพียน ผลผลิตปลาสวายที่เพาะเลี้ยงได้ในประเทศไทย
              ยังมีปริมาณต�่า เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตสัตว์น�้าชนิดนี้กับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ เวียดนาม
              เป็นผู้น�าการผลิตและการส่งออกปลาสวายชัดเจน มีผลผลิตสูงทิ้งห่างจากประเทศสมาชิกอาเซียน
              อื่นๆ

                   ผลผลิตปลาสวายจากการเพาะเลี้ยงของไทยมีประมาณเกือบสองหมื่นตันต่อปีแต่ส่วนใหญ่
              ยังเป็นปลาสวายชนิด Striped catfish ที่เป็นปลาเผาะและปลาสวายโมงยังมีไม่มากด้วยความ
              จ�ากัดของลูกพันธุ์และพื้นที่เพาะเลี้ยง สหภาพพม่ามีผลผลิตรองจากไทยแต่ก็มีโอกาสในการ
              พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิดนี้ มีต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนเลี้ยงปลาสวายในสหภาพพม่า
              นอกจากนี้แล้วก็ยังมีมาเลเซียที่เพาะเลี้ยงปลาสวาย ดังนั้นปลาสวาย เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยง
              กันทั่วไปในอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ไม่มีรายงานผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงปลาสวาย
              ได้แก่ ฟิลิปปินส์ สปป.ลาว สิงคโปร์ และ บรูไน
                   การเพาะเลี้ยงปลาสวายในประเทศไทยส่วนมากยังเป็นการเลี้ยง Striped catfish ที่เลี้ยง
              ร่วมกับปลาชนิดอื่น เลี้ยงให้ได้ขนาดใหญ่และขายส�าหรับท�าปลาแล่เนื้อใช้บริโภคในประเทศ
              และแปรรูปแต่ไม่ใช่เพื่อการส่งออก การเลี้ยงส่วนหนึ่งยังไม่ถูกสุขลักษณะ เนื้อปลา ที่ได้จากการ
              เลี้ยงแบบนี้ สีจะออกเหลืองและมีกลิ่นไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค แต่ยังมีวิธีการเลี้ยงปลาสวาย
              ที่สามารถปรับปรุงให้ถูกสุขลักษณะ ผู้ประกอบการเพาะพันธุ์ เพาะเลี้ยงและค้าปลาสวายใน
              ภาคกลางซึ่งเคยได้รับเชิญจากรัฐบาลเวียดนามให้ไปดูงานการเลี้ยงปลาสวาย ในเวียดนามให้

              ข้อมูลว่าการเลี้ยงปลาสวายโดยใช้สูตรอาหารที่ถูกต้องและถูกสุขลักษณะจะช่วยให้เนื้อปลาสวาย
              มีสีออกขาวสามารถน�าไปแล่เนื้อแพ็คเป็นชิ้นแช่แข็ง และยังมีปลาสวายโมงที่แปรรูปเป็นปลาแล่
              เนื้อเป็นชิ้นแช่แข็งดังที่พบวางขายในร้านค้าของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในชื่อปลาแพนกาเซียสดอร์รี่
              แม้จะพบว่าเนื้อปลาที่ได้ยังมีสีออกชมพูอยู่บ้างเป็นรองเนื้อปลาที่ได้จากปลาเผาะซึ่งได้เนื้อสีขาว
              แต่ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเพิ่มการบริโภคสัตว์น�้าชนิดนี้ และอาจมีโอกาสในการส่งออกใน
              บางประเทศปลายทาง รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ยกเว้นเวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออก
              ปลาสวายอันดับหนึ่งของโลก

                   แม้โอกาสส่งออกปลาสวายจากประเทศไทยไปตลาดอื่นทั้งในกลุ่มอาเซียนและประเทศ
              ปลายทางในภูมิภาคอื่นๆ ยังมีอยู่น้อยเนื่องจากเวียดนามเป็นผู้ครองตลาดอยู่ในปัจจุบันและความ
              สามารถของเกษตรกรไทยในการเพาะเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงพอที่จะส่งออกได้
              ยังมีอยู่จ�ากัด แต่ปัจจุบันเครือเจริญโภคภัณฑ์สามารถเจาะตลาดโดยการน�า ปลาสวายโมงมา
              วางขายในลักษณะเนื้อปลาแช่แข็งและแปรรูปพร้อมปรุงได้แล้ว หากมีพัฒนาการเพาะเลี้ยง
              ปลาสวายโมงโดยพัฒนาการผลิตลูกพันธุ์ให้มีพอที่จะน�ามาใช้เพาะเลี้ยง จัดการบ่อให้ถูกสุขลักษณะ
              และให้อาหารอย่างถูกต้อง น่าจะมีโอกาสในการขยายตลาดผู้บริโภคในประเทศตลอดจนส่งออก
              ไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ หรือประเทศปลายทางอื่นบางแห่งได้ แต่ทั้งนี้ต้นทุนการผลิต
              ต้องไม่สูงกว่าเวียดนามเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ประเทศไทยยังมีข้อจ�ากัดเรื่องลูกพันธุ์ปลา





                         สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 101 I
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115