Page 105 -
P. 105
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีการรวมกลุ่มในลักษณะของการรวบรวมผลผลิตโดยหัวหน้ากลุ่มเป็นเกษตรกรที่มีทักษะทั้งใน
ด้านการเพาะเลี้ยง และการตลาดรวมทั้งที่เป็นผู้ขายอาหารปลานิล สามารถพัฒนาต่อไปได้จาก
การรวมกลุ่มที่เกิดขึ้นแล้ว
7.2.3 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาดุก
ปลาดุกเป็นสัตว์น�้าที่มีผลผลิตมากเป็นอันดับที่สามของผลผลิตสัตว์น�้าจากการเพาะเลี้ยง
ในประเทศไทย รองจาก กุ้งขาว และ ปลานิล มีการเลี้ยงปลาดุกกันทั่วไป แต่ผู้รวบรวมสัตว์น�้า
ชนิดนี้ให้ข้อมูลว่าเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงปลาดุกมักจะไม่ขึ้นทะเบียนการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไว้กับ
กรมประมงท�าให้ข้อมูลสถิติที่มีอยู่ไม่ให้ภาพการเพาะเลี้ยงที่ถูกต้อง ทั้งยังเป็นปัญหาในการ
ส่งออกเนื่องจากไม่สามารถขอเอกสารการเคลื่อนย้ายสัตว์น�้าซึ่งต้องใช้ในการส่งออก เป็นปัญหาที่
ควรได้รับการแก้ไข ปัจจุบันกรมประมงได้ด�าเนินการจัดท�าข้อมูลฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าโดยการ
ส�ารวจด้วย Geographic Positioning System (GPS) ข้อมูลที่ได้มาน่าจะช่วยลดปัญหาลงได้
ส่วนหนึ่ง ปัจจุบันมีผู้ค้าในประเทศซึ่งสามารถรวบรวมผลผลิตและส่งออกปลาดุกแช่แข็งทั้งตัวไป
สหรัฐฯ ได้ แต่ในบางครั้งผู้รวบรวมมีการน�าเข้าปลาดุกจากเวียดนามเพื่อการส่งออกเนื่องจากซื้อ
ได้ในราคาต�่ากว่าที่ซื้อในประเทศ
การรักษาความสามารถในการผลิตด้วยการเลี้ยงที่ให้ผลผลิตสูง และต้นทุนต�่าเป็นเรื่องที่
ต้องให้ความสนใจในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาดุก หากสามารถลดต้นทุนการผลิต และ
พัฒนาการเพาะเลี้ยงให้เป็นระบบ ปลาดุกน่าจะเป็นสัตว์น�้าอีกชนิดหนึ่งที่มีโอกาสพัฒนาเพิ่ม
ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงได้ ที่ผ่านมายังมีการส่งออกน้อยมาก
นอกจากกุ้งและปลานิลแล้ว ประเทศไทยยังไม่มียุทธศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิดอื่น
แต่มีการท�าแผนแม่บทส�าหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในภาพรวม ในที่ประชุมระดมความคิดเห็น
ผู้เข้าร่วมประชุมมีข้อเสนอให้พิจารณาการท�ายุทธศาสตร์ปลาดุกซึ่งมีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง
อยู่ในอันดับที่สาม ผลผลิตปลาดุกที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมีโอกาสการส่งออกทั้งในและนอก
ภูมิภาคอาเซียน แต่ทั้งนี้ต้นทุนการเพาะเลี้ยงซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าอาหารต้องไม่สูงเกินไป และ
ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในประเทศยังเผชิญภาวะการแข่งขันกับปลาดุกที่น�าเข้าจากมาเลเซีย
ผ่านชายแดนภาคใต้
เช่นเดียวกับปลานิลเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาดุกเริ่มมีการรวมกลุ่มโดยแกนน�าจะเป็น
เกษตรกรที่มีทักษะทั้งในการเพาะเลี้ยงและการตลาดตลอดจนการจัดหาปัจจัยการผลิต แต่ยัง
ท�าได้ไม่มากดังเช่น กรณีของการเพาะเลี้ยงปลานิล เกษตรกรควรได้รับการส่งเสริมให้มีการรวม
กลุ่มเช่นนี้มากขึ้น
การพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาดุกควรให้ความส�าคัญแก่คุณภาพและความปลอดภัยด้าน
อาหาร เพื่อรองรับการส่งออกต่อไปรวมทั้งการควบคุมมาตรฐานการน�าเข้า โดยปลาดุกที่น�าเข้า
ต้องมีคุณภาพไม่ด้อยกว่าที่ผลิตได้ในประเทศ
96 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน