Page 104 -
P. 104
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7.2.2 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิล
กรมประมงมุ่งหวังที่จะส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลานิลให้เป็นสัตว์น�้าเศรษฐกิจรองจากการ
เพาะเลี้ยงกุ้งและคาดหวังจะให้เป็นสินค้าที่สามารถส่งออกได้ดังที่ฟิลิปปินส์สามารถส่งออก
ปลาชนิดนี้ มีการจัดท�ายุทธศาสตร์ปลานิลนอกไปจากการท�ายุทธศาสตร์กุ้งแต่ในการด�าเนินงาน
ยังไม่ประสบความส�าเร็จดังที่ท�าในยุทธศาสตร์กุ้ง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของ
ปลานิลที่ยังต�่ากว่ากุ้ง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลส่วนใหญ่ยังเป็นเกษตรกรรายย่อย การรวมตัว
ของเกษตรกรท�าได้ไม่ดีเท่ากับการรวมตัวของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง แต่ก็เริ่มมีการรวมกลุ่มกัน
บ้างแล้วในบางพื้นที่ ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถร่วมมือกันจัดการการเพาะเลี้ยงรวมทั้งปัจจัย
การผลิตและการตลาดได้ดีขึ้น
การเลี้ยงปลานิลให้ได้ปลาขนาดใหญ่พอที่จะส่งเข้าโรงงานแล่เนื้อแช่แข็งในแบบฟิลเลต์
เพื่อการส่งออกถูกจ�ากัดด้วยเวลาเลี้ยงที่นานขึ้นและต้นทุนที่สูงขึ้น ทั้งราคาที่เกษตรกรได้รับไม่
จูงใจเมื่อเปรียบเทียบกับการเลี้ยงปลานิลให้ได้ขนาดรองลงมาเพื่อขายเป็นปลาสดทั้งตัวซึ่งมักจะ
ใช้ส�าหรับการบริโภคในประเทศ
มีความเป็นไปได้ในการเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อขายสดทั้งตัว ทั้งเพื่อบริโภคในประเทศ
แปรรูป และส่งออกไปประเทศใกล้เคียง แต่การส่งออกปลานิลจากไทยไปประเทศใกล้เคียงจะ
ท�าได้ก็เมื่อต้นทุนการผลิตของไทยต�่ากว่าต้นทุนการผลิตในประเทศผู้น�าเข้า ปลานิลเป็นปลาที่
เลี้ยงกันทั่วไปในประเทศสมาชิกอาเซียน ช่องทางการส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านจึงมีจ�ากัด ต้นทุน
การผลิตใกล้เคียงกันระหว่าง ไทย เวียดนาม สปป.ลาว และ กัมพูชา โดยสหภาพพม่ามีต้นทุน
การผลิตต�่ากว่าประเทศอื่นๆ ปริมาณผลผลิตปลานิลของไทยยังเป็นรองอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
ทั้งในประเทศก�าลังพัฒนาหลายประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนก็ยังมีการส่งเสริมการเลี้ยงปลานิล
ให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาถูกส�าหรับการบริโภคในประเทศนั้นๆ เป็นข้อจ�ากัดอีกข้อหนึ่งของ
การส่งออกปลานิล
หากไม่สามารถส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลานิลเพื่อส่งออกได้ โอกาสการตลาดของผลผลิต
ปลานิลจากการเพาะเลี้ยงจะจ�ากัดอยู่เพียงการบริโภคในประเทศ หากจะเพิ่มปริมาณการผลิต
ปลานิลเพื่อการส่งออกควรมีการพัฒนาวิธีการเลี้ยงที่ลดต้นทุนและให้ผลผลิตสูงคุ้มทุนที่จะเลี้ยง
ปลานิลให้โตได้ขนาดเพื่อท�าฟิลเลต์ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรบางราย เช่น ชมรมเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
บางหัก จังหวัดชลบุรีที่เลี้ยงปลานิลโดยปล่อยลูกพันธุ์ปลานิลไม่หนาแน่น เพื่อเลี้ยงให้ได้ปลาขนาด
ตัวใหญ่และเลี้ยงคู่ไปกับการเลี้ยงกุ้งขาว สามารถท�ารายได้ดีพอสมควร ทั้งยังได้รับความสนับสนุน
จากกรมประมงมีเครื่องผสมอาหารสดช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์น�้าลงได้
ส่วนหนึ่ง เกษตรกรในพื้นที่นี้สามารถรวมกลุ่มกันต่อรองราคากับห้องเย็นและจัดหาผลผลิตส่งให้
ห้องเย็นได้
ในการประชุมระดมความคิดเห็นผู้เข้าร่วมประชุมเสนอว่า ควรให้เกษตรกรโดยเฉพาะ
เกษตรกรที่เป็นแกนน�าในการเลี้ยงปลานิลได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม เพื่อร่วมมือกับรัฐใน
การพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิลตามแนวทางที่ก�าหนดไว้ในยุทธศาสตร์ปลานิล ปัจจุบันเกษตรกร
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 95 I