Page 106 -
P. 106
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
7.2.4 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาตะเพียน
ปลาตะเพียนเป็นสัตว์น�้าที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงมากเป็นอันดับที่หกของประเทศไทย
มีการเลี้ยงปลาตะเพียนกันมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สัตว์น�้าชนิดนี้เป็นที่นิยมบริโภคใน
ภูมิภาคนี้รวมทั้งในประเทศสมาชิกอาเซียนตอนบนเช่น สปป.ลาว กัมพูชา ตลอดจนสหภาพพม่า
ปลาตะเพียนเป็นปลาที่หาลูกพันธุ์ปลาได้ง่าย และไม่สิ้นเปลืองค่าอาหารในการเลี้ยง
สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาชนิดอื่นได้ จึงนิยมเลี้ยงกันทั่วไป แต่การเพาะเลี้ยงส่วนใหญ่ยังจ�ากัดอยู่
ในหมู่เกษตรกรรายย่อย ในประเทศไทยเกษตรกรที่เลี้ยงปลาตะเพียนมักจะเลี้ยงรวมกับปลากิน
พืชนิดอื่นๆ การรวบรวมผลผลิตในปริมาณมากๆ ท�าได้ยาก ส่วนใหญ่จะเลี้ยงเพื่อขายบริโภคใน
ชุมชนหรือขายให้แก่ผู้ค้าในท้องที่ อย่างไรก็ตามสามารถน�าผลผลิตปลาตะเพียนมาแปรรูปเป็น
ปลาส้ม ปลาร้า มีโอกาสการพัฒนามูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปหากแก้ปัญหาการรวบรวมผลผลิต
ให้มีเพียงพอแก่การแปรรูปได้ ยังมีช่องทางได้มูลค่าเพิ่มจากส่วนนี้
หากส่งเสริมให้มีผลผลิตมากพอและสามารถรวบรวมผลผลิตได้ ประเทศไทยมีโอกาส
พัฒนาการเลี้ยงปลาตะเพียนเพื่อส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ยกเว้นเวียดนามที่มี
การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนชนิด Cyprinids nei มาก ที่ผ่านมาประเทศไทยส่งออกปลาตะเพียน
ไปสิงคโปร์มากที่สุดและยังมีแนวโน้มส่งออกเพิ่มขึ้น แม้อัตราเพิ่มจะเป็นรองการส่งออกไปยัง
สปป.ลาว ที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว การขยายตลาดส่งออกอาจเริ่มได้จาก สปป.ลาว และสิงคโปร์ แล้ว
ขยายไปยังประเทศอื่นๆ ด้วยต้นทุนการเพาะเลี้ยงที่ค่อนข้างต�่าของไทย ทั้งยังควรหาช่องทางท�า
มูลค่าเพิ่มจากการแปรรูปปลาตะเพียนประกอบกัน
ปลาตะเพียนเป็นสัตว์น�้าที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในภูมิภาคอาเซียน หากการเพาะเลี้ยงใน
ประเทศได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐาน และเป็นระบบผ่านการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยมี
โอกาสในการขยายการส่งออกทั้งแปรรูป และส่งออกโดยยังไม่แปรรูปไปยังประเทศใกล้เคียง แต่
อาจมีการแข่งขันกับปลาตะเพียนที่เพาะเลี้ยงในเวียดนาม
การเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนในประเทศไทยให้ผลตอบแทนสูงกว่าการเลี้ยงปลาดุก แต่การ
เลี้ยงยังกระจัดกระจายเป็นการเลี้ยงโดยเกษตรกรรายย่อยเพื่อขายในพื้นที่เป็นส�าคัญ ทั้งยังเลี้ยง
ในแบบ Poly-culture ร่วมกับปลาชนิดอื่นๆ ควรส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาตะเพียนให้เป็นสัตว์น�้า
เศรษฐกิจที่ส�าคัญอีกชนิดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางตอนบน รวมทั้งส่งเสริม
การแปรรูปเพิ่มมูลค่าซึ่งช่วยให้สามารถวางจ�าหน่ายสินค้าได้ทั่วไปทั้งยังมีโอกาสในการส่งออกไป
ยังประเทศใกล้เคียง
7.2.5 โอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
กุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์น�้าที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในอันดับที่แปดของประเทศไทย
ส่วนใหญ่ยังเลี้ยงในภาคกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ประเทศไทยมี
ผลผลิตกุ้งก้ามกรามมากที่สุด มากกว่าเวียดนามซึ่งเป็นประเทศที่มีผลผลิตกุ้งก้ามกรามจากการ
เพาะเลี้ยงเป็นอันดับที่สองของอาเซียนถึงกว่าเท่าตัว
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 97 I