Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
44
แบบดั้งเดิมกับวิทยาศาสตร์ แบบแผนพฤติกรรมเป็นแบบชาติกําเนิดกับความสามารถ บุคลิกภาพเป็น
แบบอนุรักษ์กับสมัยใหม่ ซึ่งทอลคอทต์ พาร์สัน (Talcott Parsons อ้างใน ชนิตา รักษ์พลเมือง,
2542) ได้เปรียบเทียบลักษณะสังคมแบบประเพณีกับสังคมสมัยใหม่ ไว้ดังนี้
สังคมประเพณี สังคมสมัยใหม่
1. ความสัมพันธ์แบบเฉพาะตัว 1. ความสัมพันธ์แบบสากล
2. สถานภาพยึดตามชาติวุฒิ 2. สถานภาพยึดตามคุณวุฒิ
3. หน้าที่ไม่มีขอบเขตแน่นอน 3. หน้าที่มีขอบเขตแน่นอน
4. ไม่มีเหตุผลใช้อารมณ์เข้าเกี่ยวข้อง 4. มีเหตุผลไม่ใช้อารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
5. มุ่งประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน 5. มุ่งประโยชน์หรือธุรกิจส่วนตัว
อย่างไรก็ดี กระบวนการสร้างความทันสมัยของทุกสังคม อาจต้องประสบกับปัญหาที่สําคัญ 4
ประการ ได้แก่ (Black Cyril, 1966 อ้างใน เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2545)
1. การที่สังคมต้องเผชิญกับความคิดและบทบาทใหม่ ๆ ย่อมได้รับการต่อต้านจากคนอีกกลุ่ม
หนึ่งหรือพวกคนหัวเก่า
2. การผนึกตัวของความเป็นผู้นําหัวสมัยใหม่ ที่มีการถ่ายโอนอํานาจจากผู้นําหัวสมัยเก่าสู่ห
ผู้นําหัวสมัยใหม่ อาจต้องมีการปฏิวัติต่อสู้หลายชั่วอายุคน
3. การแปรรูปทางเศรษฐกิจและสังคม จะดําเนินไปจนถึงจุดที่สังคมแปรรูปจากชีวิตในชนบท
และเกษตรกรรมเป็นชีวิตในเมืองและอุตสาหกรรม
4. การปรับรูปโครงสร้างองค์กรของสังคมในทุกภาคส่วน บางองค์กรอาจต้องปรับขนาด
โครงสร้างให้เล็กลง มีการเอาพนักงานออกไปบ้าง หรือกิจการบางอย่างอาจไม่ทําเองแต่ให้จ้างผู้อื่นมา
ทําแทน เช่น พนักงานทําความสะอาด
ในขณะที่ประเทศไทยได้เริ่มใช้แนวคิดและทฤษฎีนี้ เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศ
โดยกําหนดเป็นแผนพัฒนาฉบับแรกขึ้นในปี พ.ศ.2504 (อ่านรายละเอียดในบทที่ 5)
ทฤษฎีการพึ่งพา (Dependency Theory)
การพัฒนาที่ถือว่าเป็นกระแสหลักของโลก คือ ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization
Theory) ซึ่งได้ถูกนําไปใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาในหลายประเทศทั่วโลก ในราวปี ค.ศ.1960 ได้เกิด
การวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาความด้อยพัฒนาในประเทศโลกที่ 3 โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศแถบลาติน