Page 46 -
P. 46

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     45



                       อเมริกัน เช่น บราซิล แทนซาเนีย ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง (2542) ได้สรุปกลุ่ม
                       นักวิชาการ อุดมคติ และแนวคิดหลักของทฤษฎีการพึ่งพา (Dependency Theory) เอาไว้ดังนี้


                              กลุ่มนักวิชาการ

                              นักวิชาการในกลุ่มนี้ ได้แก่ กันเดอร์ แฟรงค์ (Gunder  Frank)  แซมเมอร์ เอมิน (Samir

                       Amin)  เซียร์ (Seer)  คาร์โดโซ่ (Cardoso)  ซานโตส (Santos) ไนเยเร่ (Nyerere)  วอลเลอร์สตีน

                       (Wallerstein) คานธี (Gandhi)

                              อุดมคติ


                              อุดมคติของทฤษฎีการพึ่งพา คือ การหลุดพ้นจากการพึ่งพา โดยมีจุดมุ่งหมายที่สําคัญ คือ
                       การลดความไม่เท่าเทียมกัน การลดการว่างงาน การแก้ไขปัญหาความยากจน ด้วยการพัฒนาแบบ

                       พึ่งตนเอง

                              แนวคิดหลัก


                              แนวคิดหลักของทฤษฎีนี้ เชื่อว่า สภาพด้อยพัฒนาในประเทศโลกที่ 3 เป็นผลมาจากการที่

                       ทรัพยากรและส่วนเกินทางเศรษฐกิจไหลไปสู่โลกที่เหนือกว่า เนื่องจากลัทธิล่าอาณานิคม การพึ่งพา
                       ระบบทุนนิยมทําให้ประเทศกลายเป็นบริวารทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ตลอดจนเป็นแหล่งวัตถุดิบ

                       ตลาดสินค้าอุตสาหกรรม และเป็นแหล่งขยายตัวการลงทุน  นอกจากนั้นความสัมพันธ์ยังเป็นไปใน

                       ลักษณะของการเอารัดเอาเปรียบโดยการกอบโกยผลประโยชน์ เช่น การที่ต้องขายวัตถุดิบในราคาถูก

                       แต่กลับต้องซื้อสินค้าอุตสาหกรรมในราคาแพงโดยการถ่ายโอนของบรรษัทข้ามชาติ การพัฒนาและ
                       ความด้อยพัฒนาไม่แยกจากกัน เกิดในประเทศเดียวกันและระหว่างประเทศ สภาพด้อยพัฒนาจึงเป็น

                       กระบวนการเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ

                              สมมติฐาน


                              กันเดอร์ แฟรงค์ (Gunder Frank, 1966 อ้างใน เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2545) ได้เสนอสมมติฐาน
                       ว่า ความด้อยพัฒนา (underdevelopment) ไม่ใช่ภาวะเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนาประเทศซึ่ง

                       ทุกสังคมต้องประสบ ประเทศพัฒนาแล้วไม่เคยตกอยู่ในสภาพความด้อยพัฒนาแบบที่ประเทศโลกที่ 3

                       ประสบอยู่ แต่อาจจะเป็นไปได้ที่ว่าประเทศพัฒนาแล้วอาจอยู่ในสภาพที่ไม่พัฒนา (undeveloped)

                       มาก่อน นอกจากนี้ความด้อยพัฒนาส่วนใหญ่เป็นผลจากความเป็นระบบทุนนิยมโลกของประเทศ
                       พัฒนาแล้ว มิใช่เป็นผลสะท้อนจากลักษณะความบกพร่องของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม และ

                       การเมืองภายในประเทศด้อยพัฒนาเอง
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51