Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     43



                              3. เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและรายได้ต่อหัวของประชาชน
                              4. ใช้ทรัพยากรและความมั่งคั่งในชนบทเป็นปัจจัยในการสร้างความเจริญให้แก่เมือง

                              5. ใช้กลไกของตลาดเป็นเครื่องกําหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมให้มีการเปิดการค้า

                       เสรีกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
                              6. รัฐทําหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการลงทุน  โดยรัฐจะเป็นผู้ลงทุนในโครงการขั้นพื้นฐาน เช่น

                       ถนน ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน เขื่อน นิคมอุตสาหกรรม ตลอดจนปรับปรุง

                       ระบบการศึกษาและระบบราชการ เพื่อให้เอกชนสามารถใช้ประโยชน์ในการลงทุน อาจสร้าง
                       บรรยากาศเพื่อการลงทุน เช่น การยกเลิกการเก็บภาษีอากร การปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการ

                       พัฒนา การให้กู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ํา

                              7. รัฐกําหนดค่าจ้างแรงงานให้อยู่ในระดับต่ํา เพื่อให้นักลงทุนสามารถเห็นผลกําไรอย่าง

                       ชัดเจน
                              8. รัฐจะต้องสร้างกําลังทหาร-ตํารวจให้เข้มแข็ง เพื่อปราบปรามประชาชนมิให้เรียกร้องหรือ

                       ต่อต้านรัฐบาล

                              9. การพัฒนาต้องเริ่มจากรัฐบาล จึงมีลักษณะสั่งการจากเบื้องบน (Top-down Approach)

                       ซึ่งข้าราชการจะมีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนา เป็นตัวเร่งเพื่อให้เกิดความเจริญขึ้นในทุกส่วนของ
                       ประเทศ ข้าราชการจึงควรมีการศึกษาสูงและมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาเฉพาะ


                              ลักษณะสังคม

                              เดเนียว เลอเนอร์ (Daniel  Lerner อ้างใน เกื้อ วงศ์บุญสิน, 2545) เป็นนักวิชาการในกลุ่ม

                       ทฤษฎีนี้อีกคนหนึ่ง เขาเห็นว่า  การเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในทางสังคมต้องดําเนินร่วมไปกับการ

                       สนับสนุนต่อแง่ความคิดความรู้ทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง โดย
                       การย้ายถิ่นของประชาชนจากเขตชนบทสู่เมือง พร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงอาชีพตามสภาพความ

                       เป็นอยู่ในเมือง ทําให้ลักษณะโครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนไปจากครอบครัวขยายที่ดํารงชีวิตด้วยการ

                       ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ไปสู่ครอบครัวเดี่ยวที่มีพ่อแม่และลูก สมาชิกในสังคมสามารถอ่านออก
                       เขียนได้ มีการขยายการศึกษาที่ประชากรสามารถเข้าถึง ความสัมพันธ์ในสถานะทางสังคมระหว่าง

                       ชายหญิงในสังคมสมัยใหม่ สตรีมีฐานะเท่าเทียมกับบุรุษ นอกจากนั้นคนจะต้องเปิดตัวเองรับความ

                       ทันสมัยที่ใช้กระบวนการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมจากรัฐที่เจริญก้าวหน้ากว่าในโลก มีการปรับตัว

                       อย่างมีประสิทธิภาพกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง มองตัวเองและปรับให้เข้ากับ
                       สภาพแวดล้อม ซึ่งทําให้คนเราขยายมุมมองและมีโอกาสในชีวิตมากขึ้น ในส่วนของประเทศไทยที่เป็น

                       ประเทศกําลังพัฒนานั้น เฟรด ริดส์ (Fred N.Riggs) เรียกสังคมในลักษณะนี้ว่า “สังคมทวิลักษณ์” ซึ่ง

                       จะมี 2  ลักษณะ คือ  โครงสร้างสังคมเป็นแบบเกษตรกับอุตสาหกรรม  ความเชื่อและพฤติกรรมเป็น
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49