Page 40 -
P. 40
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
39
อุดมคติ
อุดมคติของทฤษฎีความทันสมัย คือ ต้องการเปลี่ยนทุกสังคม โดยมีจุดหมายปลายทาง คือ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยม การเมืองแบบประชาธิปไตย สังคมเมืองหรืออุตสาหกรรมที่มีการแข่งขัน
แนวคิดหลัก
แนวคิดหลักของทฤษฎีความทันสมัย คือ สังคมมีความเจริญไม่เท่ากัน ซึ่งสังคมไม่ควรยึดติด
ในขนบธรรมเนียมประเพณีมากนัก ประเทศที่ร่ํารวยต้องช่วยประเทศยากจนทั้งด้านทุน เทคโนโลยี
และวิชาการ ด้วยการทําให้เป็นอุตสาหกรรม เพื่อจะได้หลุดพ้นจากความยากจน ดังนั้นแนวคิดทฤษฎี
นี้จึงมองว่า การพัฒนา คือ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมีตัวชี้วัดของการพัฒนาที่สําคัญ ได้แก่
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growrh) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) รายได้ประชาชาติ (NI) เป็นต้น สําหรับกลยุทธ์ในการพัฒนา คือ
การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การเพิ่มบทบาทของรัฐในการวางแผน และการร่วมมือกับ
ต่างประเทศ
เป้าหมายของทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อ 3 ประการ คือ (สุธี ประศาสน์เศรษฐ์ อ้าง
ใน ดํารงค์ ฐานดี, 2538)
1. ลัทธิพัฒนานิยม เน้นการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ การพึ่งพาความช่วยเหลือจาก
ต่างประเทศ ทั้งด้านเทคโนโลยีและเงินทุน การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การพัฒนาตาม
แรงผลักดันขององค์กรต่างประเทศ ให้สิทธิพิเศษและส่งเสริมการลงทุนขนาดใหญ่ และเน้นการใช้
เทคโนโลยีที่ทันสมัย
2. ลัทธิบริโภคนิยม เน้นการโฆษณา การใช้สินค้าจากต่างประเทศ การมีวิถีการดําเนินชีวิต
เหมือนต่างประเทศของชนชั้นสูงและชนชั้นกลาง
3. ลัทธิความมั่นคง เน้นการควบคุมของรัฐ การกดขี่และการบังคับชนชั้นต่ําให้ปฏิบัติตาม
โดยการใช้กฎหมายขัดขวางการรวมกลุ่มหรือจํากัดบทบาทของมวลชน มีการสร้างศัตรูภายในชาติ
เช่น การกล่าวหาผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลหรือชนชั้นปกครองว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือผู้ประสงค์ร้าย
อนึ่ง ผู้เขียนคิดว่าเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงของนิสิตนักศึกษา และประชาชน เมื่อวันที่
14 ตุลาคม พ.ศ.2516 และวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 เป็นกรณีตัวอย่างดังกล่าว ซึ่งมีความแตกต่าง
จากการชุมนุมประท้วงในยุคปัจจุบันของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เสื้อเหลือง) ที่ยึด
ทําเนียบรัฐบาลและปิดสนามบินสุวรรณภูมิ หรือของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ
(เสื้อแดง) ที่ยึดถนนราชประสงค์