Page 35 -
P. 35

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     34



                       พระราชดําริเกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนหรือการพัฒนาชนบทที่ทรงมุ่งช่วยเหลือพัฒนาให้เกิดการ
                       พึ่งตนเองได้ของคนในชนบทเป็นหลัก ซึ่งจะเห็นได้ว่ากิจกรรมและโครงการตามแนวพระราชดําริที่

                       ดําเนินการอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ ในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่มีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การพึ่งตนเอง

                       ได้ของราษฎรทั้งสิ้น พระองค์มีแนวพระราชดําริถึงวิธีการพัฒนาที่ทรงพระราชทานแก่เกษตรกรอย่าง
                       น่าสนใจ อาทิ (มูลนิธิชัยพัฒนา, 2550)


                              1. ทรงยึดหลักที่ไม่ใช้วิธีการสั่งการให้เกษตรกรปฏิบัติตาม เพราะไม่อาจช่วยให้คนเหล่านั้น

                       พึ่งตนเองได้ เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานโดยไม่ได้เกิดจากความพึงใจ ดังพระราชดํารัสความตอนหนึ่ง
                       ว่า  “…ความเห็นที่จะทําไม่ใช่คําสั่งแต่มันเป็นความเห็น มีทฤษฎีอะไรต้องบอกออกมา ฟังได้ฟัง ชอบ

                       ใจก็เอาไปได้ ใครไม่ชอบก็ไม่เป็นไร...”


                              2. ทรงเน้นให้พึ่งตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสําคัญ ทรงทําหน้าที่กระตุ้นให้เกษตรกร
                       ทั้งหลายคิดหาลู่ทางที่จะช่วยตนเอง พึ่งตนเองโดยไม่มีการบังคับการแสวงหาความร่วมมือจาก

                       ภายนอกต้องกระทําเมื่อจําเป็นจริง ๆ ดังพระราชดํารัสตอนหนึ่งที่ว่า  “...คนทุกคนไม่ว่าชาวกรุงหรือ

                       ชาวชนบท ไม่ว่ามีการศึกษามากหรือน้อยอย่างไร ย่อมมีจิตใจเป็นอิสระ มีความคิดเห็น มีความพอใจ
                       เป็นของตนเอง ไม่ชอบการบังคับ นอกจากนั้นยังมีขนบธรรมเนียม มีแบบแผนเฉพาะเหล่ากันอีกด้วย

                       ...”

                              3. ทรงใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน (People  Participation) ดังพระราชดํารัสตอน

                       หนึ่งว่า “...ภาระในการบริหารนั้นจะประสบผลด้วยดีย่อมต้องอาศัยความรักชาติ ความซื่อสัตย์สุจริต

                       ความสมัครสมานกลมเกลียวกัน ประกอบกับการร่วมมือของประชาชนพลเมืองทั่วไป ข้าพเจ้าจึงหวัง

                       ว่าท่านทั้งหลายคงจะพยายามปฏิบัติกรณียกิจในส่วนของแต่ละท่านด้วยใจบริสุทธิ์ โดยคํานึงถึง
                       ประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้เพื่อได้มาซึ่งความร่มเย็นเป็นสุขของประชาชนทั่วไปอันเป็นยอดปรารถนา

                       ด้วยกันทั้งสิ้น...”


                              4. ทรงใช้หลักประชาธิปไตยในการดําเนินการ เห็นได้ชัดเจนในทุกครั้งที่เสด็จพระราชดําเนิน
                       ไปทรงเยี่ยมประชาชนและเกษตรกรร้องทุกข์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น หากเจ้าหน้าที่ทักท้วงสิ่งใดทาง

                       วิชาการแล้วก็ทรงรับฟังข้อสรุปอย่างเป็นกลาง หากสิ่งใดที่เจ้าหน้าที่กราบบังคมทูลว่าปฏิบัติได้ แต่

                       ผลลัพธ์อาจไม่คุ้มค่ากับเงินที่ลงไปก็ทรงให้เปลี่ยนแปลงโครงการได้เสมอ เห็นได้จากพระราชดําริว่า
                       “...เป็นสถานที่ที่ผู้ทํางานในด้านพัฒนาจะไปทําอะไรอย่างที่เรียกว่าทดลองก็ได้ และเมื่อทดลองแล้ว

                       จะทําให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในวิชานั้นสามารถเข้าใจว่า เขาทํากันอย่างไร เขาทําอะไรกัน...” ทรง

                       อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า  “...ฉะนั้นศูนย์ศึกษาการพัฒนานี้ ถ้าทําอะไรล้มเหลวต้องไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้อง
                       ถูกลงโทษ แต่เป็นสิ่งที่แสดงว่าทําอย่างนั้นไม่เกิดผล...”
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40