Page 36 -
P. 36
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
35
5. ทรงยึดหลักสภาพของท้องถิ่นเป็นแนวทางในการดําเนินงาน ทั้งด้านสภาพแวดล้อม ทาง
ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคของประเทศ
เพราะทรงตระหนักดีกว่าการเปลี่ยนแปลงใดที่ดําเนินการโดยฉับพลันอาจก่อผลกระทบต่อค่านิยม
ความคุ้นเคย และการดํารงชีพในวิถีประชาเหล่านั้นเป็นอย่างมาก ทรงพระราชทานแนวคิดเรื่องนี้ว่า
“...การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศของภูมิศาสตร์ และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ในสังคม
วิทยา ภูมิประเทศของสังคมวิทยา คือ นิสัยใจคอของคนเราจะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้ แต่ถ้า
เราเข้าไปแล้วเราเข้าไปดูว่า เขาต้องการอะไรจริง ๆ แล้วก็อธิบายให้เขาเข้าใจหลักการของการพัฒนา
นี้ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง...”
นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระราชดําริอีกว่า “...การพัฒนาประเทศจําเป็นต้องทําตามลําดับ
ขั้นตอน ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อนโดย
ใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและ
ปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นที่สูงขึ้นโดยลําดับ...” วิธีการ
พัฒนาเพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองได้นี้ทรงชี้แนะว่า ควรจะต้องค่อย ๆ กระทําตามลําดับขั้นตอนต่อไป ไม่
ควรกระทําด้วยความเร่งรีบ ซึ่งอาจจะเกิดความเสียหายได้ ดังคําสอนที่ว่า “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละ
คํา ทําทีละอย่าง อย่าทําสิ่งที่ตนเองมาถนัด”
ตัวแบบการพัฒนาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
มีผู้ศึกษาผลงานการพัฒนาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา พระองค์ทรงยึด “คน” เป็น
เป้าหมาย โดยทําให้คนเป็นคนพัฒนาหรือเป็นคนเจริญ ซึ่งมีความหมายต่อไปอีก คือ มีความชํานาญ
ในวิชาชีพอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อเลี้ยงตัวเอง มีความชํานาญอื่นที่จําเป็นในการดํารงชีวิตในสังคม เช่น
รู้จักสิทธิหน้าที่ของพลเมือง รู้จักรักษาสุขภาพอนามัย รู้จักเข้ากับคน และมีคุณธรรม คือ การเห็นแก่
ผู้อื่นตามสมควร ไม่เห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว โดยพระองค์มีแนวปฏิบัติหลักการที่ยึดถือในการดําเนินการ
พัฒนาเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วนั้น กล่าวคือ
(สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2549)
1. การช่วยตนเอง พึ่งตนเอง โดยปลูกฝังหลักการนี้ให้อยู่ในความรู้สึกของคนไม่ว่าจะเป็นคน
ปกติหรือไม่ปกติ ตัวอย่างได้แก่ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2. การเริ่มจากสภาพที่เขาเป็นอยู่ คือ ชาวบ้านหรือเด็กเขาเคยมีชีวิตอยู่อย่างไร มีความรู้หรือ
ฐานะอย่างไร ให้เริ่มจากตรงนั้น แล้วจึงค่อย ๆ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ให้สูงขึ้น ไม่นิยมให้
เปลี่ยนแปลงอย่างฮวบฮาบ นําเอาเครื่องมือเครื่องใช้ในเมืองเข้ามาใช้ในชนบทอย่างทันทีทันใด