Page 32 -
P. 32
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
31
2. องค์รวม
ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic) หรือมองอย่างครบวงจร ทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
และแนวทางการแก้ไขอย่างเชื่อมโยง ดังเช่นกรณีของ “ทฤษฎีใหม่” ที่พระราชทานให้แก่ปวงชนชาว
ไทยเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ เป็นแนวทางที่พระองค์ทรงมองตั้งแต่การถือครองที่ดินโดย
เฉลี่ยของประชาชนคนไทยประมาณ 10 – 15 ไร่ การบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ํา อันเป็น
ปัจจัยพื้นฐานที่สําคัญในการประกอบอาชีพ เมื่อมีน้ําในการทําเกษตรแล้วส่งผลให้ผลผลิตดีขึ้น และ
หากมีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเกษตรกรจะต้องรู้จักวิธีการจัดการและการตลาด รวมถึงการรวมกลุ่มรวม
พลังชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อพร้อมที่จะออกสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกได้อย่างครบ
วงจร นั่นคือทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1, 2 และ 3 (อ่านรายละเอียดในบทที่ 4 )
3. ประชาพิจารณ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นนักประชาธิปไตย จึงทรงนํา “ประชาพิจารณ์” มาใช้
ในการบริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้สาธารณชนหรือประชาชนได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
เรื่องที่จะต้องตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในระดับสาธารณะ โดยการตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะต้อง
คํานึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการของประชาชนด้วย ดังพระราชดํารัส “…การ
ไปช่วยเหลือประชาชนนั้น ต้องรู้จักประชาชน ต้องรู้ว่าประชาชนต้องการอะไร ต้องอาศัยวิชาความรู้
ในการช่วยเหลือ…”
4. ขาดทุน คือ กําไร
“...ขาดทุน คือ กําไร (Our loss is our gain)…การเสีย คือ การได้ ประเทศชาติก็จะ
ก้าวหน้า และการที่คนอยู่ดีมีสุข เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้...” จากพระราชดํารัสดังกล่าว คือ
หลักการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกรไทย “การให้” และ “การเสียสละ” เป็น
การกระทําอันมีผลเป็นกําไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรม
ชัดเจนได้ดังพระราชดํารัสความตอนหนึ่งว่า “...ประเทศต่าง ๆ ในโลกในระยะ 3 ปีมานี้ คนที่ก่อตั้ง
ประเทศที่มีหลักทฤษฎีในอุดมคติที่ใช้ในการปกครองประเทศล้วนแต่ล่มสลายลงไปแล้ว เมืองไทยของ
เราจะสลายลงไปหรือ เมืองไทยนับว่าอยู่ได้มาอย่างดี เมื่อประมาณ 10 วันก่อน มีชาวต่างประเทศมา
ขอพบ เพื่อขอโอวาทเกี่ยวกับการปกครองประเทศว่าจะทําอย่างไร จึงได้แนะนําว่า ให้ปกครองแบบ
คนจนแบบที่ไม่ติดกับตํารามากเกินไป ทําอย่างมีสามัคคี มีเมตตากัน ก็จะอยู่ได้ตลอด ไม่เหลือกับคน
ที่ทําตามวิชาการที่เวลาปิดตําราแล้วไม่รู้ว่าจะทําอย่างไร ลงท้ายก็ต้องเปิดหน้าแรกเริ่มต้นใหม่ ถอย
หลังเข้าคลอง ถ้าเราใช้ตําราแบบอะลุ้มอล่วยกัน ในที่สุดก็เป็นการดี ให้โอวาทเขาไปว่า ขาดทุนเป็น
การได้กําไรของเรา นักเศรษฐศาสตร์คงค้านว่าไม่ใช่ แต่เราอธิบายได้ว่า ถ้าเราทําอะไรที่เราเสีย แต่ใน