Page 27 -
P. 27
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
26
ผลเสียที่เป็นมุมกลับ คือ ปัญหาด้านแรงงาน ปัญหาจริยธรรม ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาคุณภาพ
ชีวิต จะเกิดตามมามากกว่า และจะกลายเป็นตัวบั่นทอนความสําเร็จทางเศรษฐกิจได้ มนุษย์จะมี
คุณภาพต้องได้รับการเตรียมการและพัฒนามาตั้งแต่เยาว์วัย ต้องได้รับการอบรมบ่มเพาะนิสัยด้วย
ระบบการศึกษาและสภาพทางสังคมที่ดี เมื่อเข้าสู่วัยทํางานเป็นปัจจัยการผลิตก็ต้องได้รับการพัฒนา
ความรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นทรัพยากรการผลิตการทํางานที่มีประสิทธิภาพในองค์การ
(Productivity) และมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพชีวิตในการทํางาน คุณภาพสังคม รวมไปถึงการ
ธํารงคุณธรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างสันติสุขให้แก่ตนเองและสังคม เป้าหมายสุดท้ายก็คือ การทําให้สังคม
มนุษย์อยู่ดีกินดีมีคุณภาพนั่นเอง (ธงชัย สันติวงษ์, 2539)
อนึ่ง หากได้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ที่ใช้คําว่า “Human Development” มักจะพบว่า
เนื้อหาข้างในจะเป็นเรื่องที่เขียนเกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละวัย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนกระทั่ง
ตายมากกว่าวิธีการหรือกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความหมายที่กล่าวไว้ในข้างต้น
จากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แต่ยังมีคําอื่น ๆ ที่มี
ความหมายเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกัน เช่น คําว่า “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” หรือ “การบริหาร
ทรัพยากรมนุษย์” โดยใช้คําในภาษาอังกฤษเหมือนกัน คือ “Human Resource Management”
และใช้อักษรย่อว่า “HRM” ซึ่งคํานี้น่าจะเกิดขึ้นในราว ค.ศ.1980 (John Shipton cited in
Wilson, John P., 2005: 43) มีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ (สัมฤทธิ์ ยศสมบัติ, 2549: 19)
สุนันทา เลาหนันทน์ กล่าวโดยสรุปว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นกระบวนการตัดสินใจ
และการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรทุกระดับในหน่วยงาน เพื่อให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มี
ประสิทธิภาพสูงสุดที่จะส่งผลสําเร็จต่อองค์การ กระบวนการต่าง ๆ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง ได้แก่ การ
วางแผนทรัพยากรมนุษย์ การวิเคราะห์งาน การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนา
การประเมินผลการปฏิบัติงาน การจ่ายค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูล สุขภาพและ
ความปลอดภัย พนักงานและแรงานสัมพันธ์ การพัฒนาองค์การ ตลอดจนการวิจัยด้านทรัพยากร
มนุษย์
พยอม วงศ์สารศรี กล่าวเช่นเดียวกันว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการที่
ผู้บริหารใช้ศิลปะและกลยุทธ์ดําเนินการสรรหา คัดเลือก และบรรจุบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้
ปฏิบัติงานในองค์การ พร้อมทั้งสนใจการพัฒนาธํารงรักษาให้สมาชิกที่ปฏิบัติงานในองค์การเพิ่มพูน
ความรู้ความสามารถ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีในการทํางาน และยังรวมไปถึงการแสวงหา
วิธีการที่ทําให้สมาชิกในองค์การที่ต้องพ้นจากการทํางานด้วยเหตุทุพพลภาพ เกษียณอายุ หรือเหตุอื่น
ในการงานให้ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข