Page 26 -
P. 26

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     25



                       เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์การว่า หมายถึง  กระบวนการที่มีการวางแผนดําเนินการ
                       อย่างเป็นระบบในการที่จะเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และความสามารถของพนักงานในองค์การให้

                       สามารถปฏิบัติงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ เพื่อทําให้องค์การเจริญก้าวหน้า สามารถปรับตัวให้เข้ากับ

                       การเปลี่ยนแปลงเพื่อการแข่งขันในอนาคต ซึ่งนักวิชาการอื่น ๆ อาจใช้คําอื่นที่มีความหมายทํานอง
                       เดียวกัน เช่น การพัฒนาบุคคล การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนาองค์การ

                       การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาผู้บริหาร เป็นต้น


                              ในยุคปัจจุบัน นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 เป็นต้นมา สํานักงานโครงการพัฒนาแห่งองค์การ
                       สหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับ

                       เรื่องการพัฒนาคนของโลก โดยใช้คําว่า “การพัฒนามนุษย์”  หรือ “Human  Development”

                       และได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People  Centered)  ซึ่งใน
                       รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทย ปี 2550 ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นการส่งเสริมให้คนมีทางเลือก

                       ในชีวิตมากขึ้น สามารถใช้ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพ มีสุขภาพดีและมีความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งมี

                       เสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ย่อมต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่เอื้ออํานวยให้คนสามารถ

                       พัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ และสามารถเข้าถึงเครื่องมือสําคัญในการเพิ่มสมรรถนะของ
                       ตนเอง ได้แก่ ความรู้ ทรัพยากร และการมีส่วนร่วมในชุมชนหรือสังคม ในขณะที่พุทธศาสนานั้นได้

                       กล่าวถึงเรื่องการพัฒนามนุษย์หรือการพัฒนาคนมานานกว่า 2500 ปี ซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์ (2550)

                       ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในวงวิชาการมองว่า มนุษย์เป็นทรัพยากร เป็นทุน เป็นแรงงาน เป็นหนึ่งในปัจจัย
                       การผลิตทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ทําอย่างไรจะให้ไปเป็นกําลังหรือเป็นทุนที่มีคุณภาพ เพื่อสนองความ

                       ต้องการของสังคมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น การมองมนุษย์เป็นทรัพยากรนั้น เป็นแนวคิดที่เสี่ยงเพราะถ้าเพลิน

                       ไปก็เท่ากับเอามนุษย์เป็นทุนไปสนองความต้องการของสังคม สังคมกําลังต้องการกําลังคนด้านนี้ก็ให้
                       มหาวิทยาลัยผลิตผู้สําเร็จวิชาชีพด้านนี้มาให้ การมองมนุษย์นั้นมองได้หลายอย่าง มนุษย์ต้องมีปัญญา

                       ที่จะทําการเปลี่ยนแปลงสังคมหรือแก้ไขปัญหาของสังคมจึงเป็นมนุษย์ที่ดี เราจึงต้องการให้มนุษย์เป็น

                       ผู้ที่คอยสร้างสรรค์สังคม แต่ในเวลานี้มนุษย์คือตัวบุคคลอยู่ในฐานะที่เป็นผู้ถูกกระทํา สังคมเป็นฝ่าย

                       หล่อหลอม คนไม่เป็นตัวของตัวเอง และไม่ได้พัฒนาตัวให้สามารถที่จะมารับรู้สังคมและนําสังคม การ
                       พัฒนาคนจะต้องพัฒนาจนถึงขั้นเป็นผู้ขึ้นไปอยู่เหนือกระแสสังคมได้


                              นอกจากความหมายในวงกว้างทางสังคม “ทรัพยากรมนุษย์” ยังเป็นปัจจัยชี้วัดความสําเร็จ

                       ของการพัฒนาประเทศและการธํารงสังคม รวมไปถึงการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่ง
                       ความสําเร็จในการพัฒนาแบบใด ๆ ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจหรือเทคโนโลยี หากกระทําโดยมิให้

                       ความสําคัญต่อทรัพยากรมนุษย์อย่างถูกต้องหรือมีการจัดการเพียงในขอบเขตและความหมายที่แคบ

                       เกินไป แม้จะสามารถสร้างความสําเร็จในทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งทางวัตถุได้อย่างสูงก็ตาม แต่
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31