Page 24 -
P. 24
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
23
แนวคิดการพัฒนาประเทศในกลุ่มซีกโลกตะวันออก เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ถือเป็นตัวแบบ
ของประเทศที่พัฒนาให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วทัดเทียมกับประเทศอุตสาหกรรมตะวันตกทั้ง ๆ
ที่ประเทศทั้งสองได้เผชิญกับความบอบช้ําในสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือสงครามเกาหลีมาก่อน ตัวอย่าง
หนึ่งที่ชัดเจนซึ่งผู้เขียนอยากจะกล่าวถึง คือ กีฬาฟุตบอล ประเทศทั้งสองสามารถไปร่วมการแข่งขัน
ฟุตบอลโลกได้หลายสมัยและต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ประเทศไทยวิ่งไล่ตามไม่ทันชนิดแบบที่
เรียกว่าไม่เห็นฝุ่นก็ว่าได้ จนเริ่มมีคําพูดแซวกันแรง ๆ ว่า “บอลไทยไปมวลโลก” แข่งเมื่อไรชกต่อยกัน
เกือบทุกที บอลแพ้คนไม่แพ้ ความเป็นผู้มีน้ําใจเป็นนักกีฬาของคนไทยเรายังอาจมีน้อยเกินไปก็ได้
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวถึง สิ่งหนึ่งที่จะต้องให้ความสําคัญโดยการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างมากทั้ง
งบประมาณและสติปัญญา คือ การพัฒนาคน หรือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นั่นเอง
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คืออะไร คําว่า Human Resource Development หรือ
“HRD” น่าจะปรากฏครั้งแรกในราวปี ค.ศ.1964 โดย Harbison and Myers หลังจากนั้นได้เริ่มมี
เอกสารตีพิมพ์ในประเทศแถบตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ของยุโรป จนกระทั่ง
ในปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะให้ขอบเขตนิยามของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปในระดับชาติ
(National Human Resource Development : NHRD) (McLagan, 1989; Weinberger, 1998;
McLean, 2001; Lynham, Paprock, & Cunningham, 2006; McLean, Osman-Gani, & Cho,
2004 cited in Xiaohui Wang & Mclean G.N., 2007) อย่างไรก็ดี คําว่า “การพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์” ได้ถูกแนะนําให้รู้จักอย่างเป็นทางการโดย Leonard Nadler ในการประชุม “Miami
Conference of the American Society of Training and Development : ASTD” เมื่อปี ค.ศ.
1969 และในปี ค.ศ.1970 ถึงแม้ว่าคําว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะยังมีความหมายที่คลุมเครือ
แต่ก็มีนักวิชาการได้พยายามให้ความหมายกันไว้มากมาย ดังนี้
organised learning experiences in a definite time period to increase the
possibility of improving job performance growth. (Nadler and
Nadler,1990 cited in Wilson, John P., 2005: 10)
Human Resource Development is the study and practice of increasing
the learning capacity of individuals, groups, collectives, and
organizations through the development and application of learning-
based interventions for purpose of optimising human and organization