Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
19
รัฐแบบสังคมนิยม
การพัฒนาของรัฐแบบสังคมนิยม ยึดถือระบบสังคมตามแนวลัทธิของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl
Marx) และเลนิน (Lenin) เขาเชื่อว่า ชาวนาและกรรมกรเป็นผู้ที่ทําการผลิตที่แท้จริง โดยสมาชิก
พรรคคอมมิวนิสต์ได้ทําการล้มล้างอิทธิพลของขุนนาง เจ้าของที่ดิน นายทุนต่างชาติ นักธุรกิจการเงิน
และคนร่ํารวย นอกจากนี้ยังได้ตัดความสัมพันธ์ของรัฐออกจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมของโลกเกือบ
หมด เหลือไว้เฉพาะบางส่วนที่จําเป็นเท่านั้น รวมทั้งการยกเลิกสิทธิการมีทรัพย์สินส่วนบุคคล โดยยึด
ปัจจัยการผลิตมาเป็นของรัฐและให้ประชาชนเป็นผู้ทําการผลิต แล้วนําเอาผลผลิตมาแบ่งปันแจกจ่าย
ให้แก่ผู้ทําการผลิตโดยตรง ผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคจะต้องนํามารวมไว้เป็นของรัฐ เพื่อ
แลกเปลี่ยนสิ่งของที่จําเป็นกับรัฐอื่นต่อไป วิธีการของลัทธิสังคมนิยมเป็นการยุติการเอารัดเอาเปรียบ
กรรมการชาวนา เป็นการขจัดความเหลื่อมล้ําทางสังคมให้หมดไป และดําเนินการพัฒนาให้ตรง
เป้าหมายของรัฐ นั่นคือ การปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของทุกคนในสังคมให้ดีขึ้น โดยรัสเซียเป็น
ประเทศแรกที่นําเอาแนวคิดนี้มาใช้ในปี พ.ศ.2460 รวมไปถึงประเทศจีน เวียดนาม เกาหลีเหนือ และ
คิวบา เป็นต้น (ดํารงค์ ฐานดี, 2538: 143)
รูปแบบของรัฐในโลกยุคปัจจุบัน ได้มีการปรับเปลี่ยนไปสู่รัฐแบบทุนนิยมเกือบทั้งหมด แม้แต่
ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างเช่นประเทศจีน ซึ่งปกครองด้วยระบอบเผด็จการในระบบพรรคเดียว คือ
พรรคคอมมิวนิสต์ แต่การพัฒนาประเทศหรือระบบเศรษฐกิจกลับใช้แนวทางของทุนนิยม มีข้อสังเกต
เช่น ห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ชาวจีนหลายคนติดอันดับมหาเศรษฐีของโลก
อย่างไรก็ดี รูปแบบรัฐจะเป็นแบบใดอาจไม่ใช่ประเด็นสําคัญมากนัก สิ่งสําคัญอยู่ที่ว่ารัฐหรือรัฐบาลจะ
ใช้แนวคิดใดในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศมากกว่า