Page 18 -
P. 18

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     17



                       ปัตตานี นราธิวาส และพยายามสร้างความชอบธรรม ได้แก่ การปราบปราม การบริหารความไม่พึง
                       พอใจในสังคม อาทิ การปราบปรามผู้มีอิทธิพล หวยใต้ดิน แหล่งค้าขายยาเสพติด ดังนั้นงบประมาณ

                       ของรัฐจึงมีบทบาทในการธํารงความสมานฉันท์ทางสังคม รายจ่ายของรัฐจึงเอื้ออํานวยให้นายทุน

                       เอกชนสามารถสะสมทุนได้ เช่น รายจ่ายในการรักษาความสงบเรียบร้อย (ตํารวจ) และสวัสดิการ

                              รัฐแบบทุนนิยมพึ่งพา


                              เบอร์ช เบอร์เบอรูกลู (Berch  Berberuglu)  และเจมส์ เพทรัส (James  Petras)  (อ้างใน
                       ดํารงค์ ฐานดี, 2538: 101) ได้ตั้งสมมติฐานว่า ชนชั้นปกครองทั้งในและนอกประเทศได้ทําการควบคุม

                       รัฐที่กําลังพัฒนาใช้และเร่งพัฒนาทุนนิยม เพื่อให้เกิดการสะสมทุนและความมั่งคั่งในเมืองและส่งผ่าน

                       ความมั่งคั่งไปยังรัฐศูนย์กลาง โดย

                              1. รัฐทุนนิยมพึ่งพาเป็นรัฐอ่อนแอและต้องพึ่งพารัฐศูนย์กลางตลอดเวลา ใช้อํานาจในการ

                       ตัดสินใจ สร้างนโยบายและดําเนินการตามนโยบายเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกของสังคมตนเอง

                       และไม่สามารถปกป้องสมาชิกชนชั้นต่ําให้ได้รับประโยชน์จากนโยบายการกระจายรายได้ หรือ
                       นโยบายปฏิรูปที่ดินได้


                              2. รัฐเป็นเพียงเครื่องมือของชนชั้นนายทุนหรือชนชั้นปกครองทั้งในและนอกประเทศ คนใน
                       ชนชั้นนี้ได้ยึดอํานาจของรัฐและใช้รัฐให้ดําเนินการ เช่น สร้างนโยบาย การดําเนินตามนโยบาย การ

                       ออกกฎหมาย และการบีบบังคับให้เป็นไปตามความต้องการและผลประโยชน์ของชนชั้นสูง


                              3. อิทธิพลของรัฐศูนย์กลางมีอยู่เหนือรัฐบริวารเกือบทุกด้าน การครอบงําจากรัฐศูนย์กลาง
                       เป็นเสมือนการตกเป็นอาณานิคมยุคใหม่ นายทุนต่างชาติร่วมมือกับชนชั้นสูงในประเทศในรูปของ

                       ไตรภาคีทําการฉกฉวยเอาผลประโยชน์และความมั่งคั่งไปจากรัฐบริวาร ทําให้เกิดช่องว่างของรายได้

                       ระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นต่ําหรือชาวนาและกรรมกร ซึ่งชนชั้นปกครองมีจํานวนน้อยแต่เป็น

                       เจ้าของทรัพย์สินมากกว่าร้อยละ 70 ของประเทศ นอกจากนี้ชนชั้นปกครองยังปกป้องสถานภาพและ
                       อํานาจของตนด้วยการบีบบังคับคนในสังคมด้วยกฎหมายและการทหาร โดยการยึดอํานาจหรือการ

                       ประกาศกฎอัยการศึกอยู่เสมอ โดยอ้างถึงความจําเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพของประเทศเอาไว้

                              ฮัมส่า อลาวี (Hamza  Alavi)  และนอร่า แฮมมิวตัน (Nora Hamilton) (อ้างใน ดํารงค์

                       ฐานดี, 2538) ได้ย้ําว่า รัฐทุนนิยมพึ่งพามิได้ปกครองโดยชนชั้นสูงเพียงกลุ่มเดียวและคนชั้นสูงเหล่านี้

                       มิได้รวบอํานาจไว้ได้ตลอดไป รัฐเหล่านี้ยังมีอิสรภาพบางส่วนเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นสมาชิกชน

                       ชั้นสูงที่มีเงินเดือนประจํานี้ มีฐานอํานาจกว้างขวางในรัฐทุนนิยมพึ่งพาทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ
                       สังคม และวัฒนธรรม อาจกล่าวได้ว่า ข้าราชการทหารและตํารวจของชนชั้นนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้

                       มากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ข้าราชการจึงมีอิทธิพลเหนือรัฐ ทําให้มีผู้เรียกรัฐทุนนิยม
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23