Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                                                                                     12



                              ระบบพรรคการเมือง

                              ระบบพรรคการเมืองแบ่งได้เช่นเดียวกับระบอบการปกครอง คือ ระบบพรรคแบบเผด็จการ

                       กับแบบประชาธิปไตย ดังนี้ (พฤทธิสาณ ชุมพล, 2540)

                              1. ระบบพรรคการเมืองแบบเผด็จการ มีระบบพรรคการเมืองประเภทที่กติกาทางการเมือง

                       ไม่เปิดให้มีการแข่งขัน แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ

                                 1)   ระบบพรรคเดียวหรือเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ มีความเป็นอํานาจนิยมสูงมีพรรค
                       การเมืองพรรคเดียวเป็นรัฐบาลตลอดกาล นโยบายจะถูกกําหนดโดยผู้นําระดับสูงของพรรค เช่น

                       พรรคคอมมิวนิสต์ในจีนหรือในสหภาพโซเวียต ระบบพรรคเดียวนี้ไม่จําเป็นต้องมีอุดมการณ์

                       คอมมิวนิสต์อาจครอบงําโดยทหาร เช่น พม่าหรืออียิปต์

                                2) ระบบพรรคหลักครอบงําหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบ Corporatist  มีลักษณะความ
                       เป็นอํานาจนิยมเช่นกันแต่อ่อนกว่า โดยให้มีพรรครองอื่น ๆ ได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะไม่ท้าทายอํานาจ

                       ครอบงําของพรรคหลักในการปกครอง เช่น อินโดนีเซียในสมัยของประธานาธิบดีซูฮาร์โต หรือ

                       ยูโกสลาเวีย

                              2. ระบบพรรคการเมืองแบบประชาธิปไตย  มีระบบพรรคการเมืองที่เปิดโอกาสให้มีการ

                       แข่งขันระหว่างพรรค แบ่งได้ 5 ลักษณะ คือ
                                1) ระบบพรรคหลัก มีพรรคการเมืองเดียวที่ชนะการแข่งขันหรือการเลือกตั้งมาโดยตลอด

                       สามารถเข้ามาเป็นรัฐบาลได้เป็นส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นในประเทศที่เพิ่งจะได้รับการปลดปล่อยจากการ

                       เป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก เช่น พรรคคองเกรสในอินเดีย

                                 2)  ระบบสองพรรค มีพรรคการเมืองสําคัญ ๆ อยู่ 2  พรรคเท่านั้น ที่สามารถชนะการ
                       เลือกตั้งสับเปลี่ยนกันดํารงอํานาจในการปกครองประเทศอยู่เป็นประจํา โดยที่พรรคทั้งสองมี

                       อุดมการณ์ไม่ขัดแย้งกันมากนัก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ

                                 3) ระบบหลายพรรค มีพรรคการเมืองหลายพรรคที่มีอุดมการณ์เป็นกลาง ๆ ไม่มีพรรคใด

                       สามารถได้เสียงข้างมากเด็ดขาด รูปแบบรัฐบาลจึงต้องเป็นรัฐบาลผสม 2  พรรคขึ้นไป เช่น เยอรมนี
                       เบลเยี่ยม สวีเดน เดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ รวมทั้งประเทศไทย

                                4)    ระบบหลายพรรคสุดโด่ง มีพรรคการเมืองหลายพรรคที่มีอุดมการณ์หรือนโยบาย

                       แตกต่างกันมากเป็นขั้วแห่งความคิด มีทั้งพรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์แบบคอมมิวนิสต์ (ซ้ายจัด)
                       และอนุรักษ์นิยมแบบฟาสซิสต์ (ขวาจัด)  ทําให้มีการแข่งขัน ก่อให้เกิดความรุนแรงเสียหายและ

                       ปั่นป่วนต่อระบบ บางพรรคการเมืองมีสถาบันศาสนาครอบงําหรือมีอิทธิพลอยู่เหนือ เช่น อิตาลีและ

                       ชิลีในอดีต
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18